๑. อันตสูตร ว่าด้วยส่วน คือ สักกายะ ๔ อย่าง
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 363
จุลลปัณณาสก์
อันตวรรคที่ ๑
๑. อันตสูตร
ว่าด้วยส่วน คือ สักกายะ ๔ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 363
จุลลปัณณาสก์
อันตวรรคที่ ๑
๑. อันตสูตร
ว่าด้วยส่วน คือ สักกายะ ๔ อย่าง
[๒๗๔] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้น ฯลฯ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนทั้งหลายเหล่านี้มี ๔ อย่างดังต่อไปนี้ ๔ อย่างคืออะไร? คือ ส่วนคือสักกายะ ๑ ส่วนคือความเกิดขึ้นแห่งสักกายะ ๑ ส่วนคือความดับแห่งสักกายะ ๑ ส่วนคือข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งสักกายะ ๑.
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายะคืออะไร? ส่วนคือสักกายะนั้น มีคำที่จะพึงกล่าวว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕. อุปาทานขันธ์ ๕ คืออะไร? ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือ รูป ๑ อุปาทานขันธ์คือ เวทนา ๑ อุปาทานขันธ์คือ สัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ ๑ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ส่วนคือสักกายะ.
[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือความเกิดขึ้นแห่งสักกายะคืออะไร? คือตัณหานี้ที่ให้เกิดในภพใหม่ ไปด้วยกันกับความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ส่วนคือความเกิดขึ้นแห่งสักกายะ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 364
[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือความดับแห่งสักกายะคืออะไร? คือความดับโดยการสำรอกซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละไม่มีเหลือ การสละ การสลัดทิ้ง การปล่อยไป การไม่อาลัยใยดี ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ส่วนคือความดับแห่งสักกายะ.
[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสักกายะคืออะไร? คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ส่วนคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสักกายะ. ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือส่วน ๔ ส่วน.
จบ อันตสูตรที่ ๑
อรรถกถาจุลลปัณณาสก์
อรรถกถาอันตวรรค
อรรถกถาอันตสูตรที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัยในอันตสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนฺตา ได้แก่ ส่วนทั้งหลาย. สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ผู้จะตรัสรู้ได้ด้วยคำว่า อนฺโต โดยทรงประกอบขันธ์ ๕ เข้ากับอริยสัจ ๔.
จบ อรรถกถาอันตสูตรที่ ๑