พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปริญเญยยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกําหนดรู้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36870
อ่าน  749

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 367

๔. ปริญเญยยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรกําหนดรู้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 367

๔. ปริญเญยยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[๒๘๙] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ การกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้ ขอเธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 368

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้คืออะไร? ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกำหนดรู้คือรูป ... คือเวทนา ... คือสัญญา ... คือสังขาร. ธรรมที่ควรกำหนดรู้คือวิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้เราตถาคตเรียกว่า ปริญเญยยธรรม.

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำหนดรู้คืออะไร? คือความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ปริญญาธรรม.

[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้คือใคร? บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น ควรกล่าวว่า คือพระอรหันต์ ซึ่งได้แก่ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ปริญญาตาวีบุคคล.

จบ ปริญเญยยสูตรที่ ๔

อรรถกถาปริญเญยยสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในปริญเญยยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริญฺเยฺเย ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่พึงกำหนดรู้ คือ พึงก้าวล่วง.

บทว่า ปริญฺํ ได้แก่ กำหนดรู้ด้วยการก้าวล่วง.

บทว่า ปริญฺาตาวิํ ได้แก่ บุคคลผู้กำหนดรู้แจ้งก้าวล่วงอยู่ด้วยปริญญานั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงพระนิพพานด้วยบทว่า ราคกฺขโย เป็นต้น.

จบ อรรถกถาปริญเญยยสูตรที่ ๔