พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สมณสูตรที่ ๑ ว่าด้วยผู้ไม่ควร และผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36871
อ่าน  401

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 369

๕. สมณสูตรที่ ๑

ว่าด้วยผู้ไม่ควร และผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 369

๕. สมณสูตรที่ ๑

ว่าด้วยผู้ไม่ควร และผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์

[๒๙๓] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์เหล่านี้มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างคืออะไร? คืออุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ทราบชัด คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกของอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ (๑) นั้น จะไม่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะทั้งหลาย จะไม่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ทั้งหลายเลย ทั้งท่านเหล่านั้น ก็จะไม่กระทำให้แจ้ง (๒) ซึ่งสามัญญผลหรือพรหมัญญผลในปัจจุบัน เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่.

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัด คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ เหล่านี้ ตามความจริง. ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้นั้นแล จะได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะทั้งหลาย และได้รับ ยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งท่านเหล่านั้น จะทำให้แจ้งสามัญญผล หรือพรหมัญญผลในปัจจุบันทีเดียว เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่.

จบ สมณสูตรที่ ๑


(๑) ปาฐะว่า นเมเต สันนิษฐานว่าจะเป็น น โขเมเต

(๒) ปาฐะว่า เต จ ปนายสฺมนฺโต สันนิษฐานว่าจะเป็น เต จ นายสฺมนฺโต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 370

อรรถกถาสมณสูตรที่ ๑

ไม่ได้แก้ไว้โดยเฉพาะเหมือนในสูตรอื่นๆ แต่แก้รวมว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจะ ๔ ไว้ใน ๔ สูตร นับแต่สูตรที่ ๕ มาถึงสูตรที่ ๘"