พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการละความพอใจ ในขันธ์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36876
อ่าน  430

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 372

๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒

ว่าด้วยการละความพอใจ ในขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 372

๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒

ว่าด้วยการละความพอใจ ในขันธ์ ๕

[๒๙๙] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุบาย (การเข้าถึง) อุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง เป็นที่อยู่ประจำ และที่อยู่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย รูปนั้นที่เธอทั้งหลายละแล้วอย่างนี้ จักมีรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลายจงละ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... เธอทั้งหลายจงละฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุบาย (การเข้าถึง) อุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง เป็นที่อยู่ประจำ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งจิต ในสังขารทั้งหลายเสีย. สังขารทั้งหลายเหล่านั้นที่เธอทั้งหลายละแล้วอย่างนี้ จักมีรากขาด ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. เธอทั้งหลายจงละฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุบาย อุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง เป็นที่อยู่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 373

ประจำ เป็นที่อยู่อาศัยในวิญญาณเสีย. วิญญาณนั้นที่เธอทั้งหลายละแล้วอย่างนี้ จักมีรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่เป็น มีการไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ฉะนี้แล.

จบ ฉันทปหีนสูตรที่ ๒

จบ อันตวรรค

รวมพระสูตรที่มาในวรรคนี้คือ

๑. อันตสูตร ๒. ทุกขสูตร ๓. สักกายสูตร ๔. ปริญเญยยสูตร ๕. สมณสูตรที่ ๑ ๖. สมณสูตรที่ ๒ ๗. โสตาปันนสูตร ๘. อรหันตสูตร ๙. ฉันทปหีนสูตรที่ ๑ ๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒.