พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ธรรมกถิกสูตรที่ ๑ ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36879
อ่าน  375

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 376

๓. ธรรมกถิกสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 376

๓. ธรรมกถิกสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก

[๓๐๒] กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบันด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ หากว่าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุธรรมกถึก หากว่าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หากว่าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.

จบ ธรรมกถิกสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 377

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมกถิกสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระธรรมกถึกด้วยคำตอบที่ ๑ ตรัสถึงเสกขภูมิด้วยคำตอบที่ ๒ ตรัสถึงอเสกขภูมิด้วยคำตอบที่ ๓ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภูมิ ๒ ขยายพระธรรมกถึกให้แตกต่างกันออกไปด้วยคำถามที่ภิกษุทูลถามแล้ว.

จบ อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๑