๔. ธรรมกถิกสูตรที่ ๒ ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก
[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 377
๔. ธรรมกถิกสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 377
๔. ธรรมกถิกสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่า พระธรรมกถึก
[๓๐๓] กรุงสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบันด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ หากว่าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ธรรมกถึก หากว่าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หากว่าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 378
เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
จบ ธรรมกถิกสูตรที่ ๒
อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๒
ในธรรมกถิกสูตรที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการวิสัชนาคำถามทั้ง ๓ ไว้ ๓ ข้อ.
จบ อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๒