พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓ ว่าด้วยความหมายของอวิชชา และวิชชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36899
อ่าน  394

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 398

๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓

ว่าด้วยความหมายของอวิชชา และวิชชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 398

๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓

ว่าด้วยความหมายของอวิชชา และวิชชา

[๓๓๒] เหตุเกิด (แห่งพระสูตร) ก็เป็นเช่นนั้นแหละ. ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 399

ว่า ดูก่อนโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่ง วิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

[๓๓๓] เมื่อท่านมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณ ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมรู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ ย่อมรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

จบ โกฏฐิตสูตรที่ ๓

จบ อวิชชาวรรค

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 400

อรรถกถาอวิชชาวรรค

อรรถกถาสูตรที่ ๑ ถึงสูตรที่ ๑๐ เริ่มด้วยสมุทยธรรมสูตร

อวิชชาวรรค มีความหมายง่ายทั้งนั้น. ก็ในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจะ ๔ ไว้ในทุกๆ สูตร (คือแต่สูตรที่ ๑ - ถึงสูตรที่ ๑๐) แล.

จบ อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สมุทยธรรมสูตรที่ ๑

๒. สมุทยธรรมสูตรที่ ๒

๓. สมุทยธรรมสูตรที่ ๓

๔. อัสสาทสูตรที่ ๑

๕. อัสสาทสูตรที่ ๒

๖. สมุทยธรรมสูตรที่ ๑

๗. สมุทยธรรมสูตรที่ ๒

๘. โกฏฐิตสูตรที่ ๑

๙. โกฏฐิตสูตรที่ ๒

๑๐. โกฏฐิตสูตรที่ ๓