พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔ ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2564
หมายเลข  36913
อ่าน  348

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 406

๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔

ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 406

๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔

ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร

[๓๔๕] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณอยู่ ย่อมกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 407

สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เราตถาคตกล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.

จบ กุลปุตตสูตรที่ ๔

อรรถกถากุกกุฬวรรค

พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุฬสูตรที่ ๑ แห่งกุกกุฬวรรค ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุกฺกุฬํ แปลว่า ร้อน คือ ไฟติดโชน. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสลักษณะของทุกข์ที่มีความเร่าร้อนมากไว้ว่าเหมือนกองเถ้า.

ในสูตรที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าแยกตรัสลักษณะเหล่านี้ทั้งหมด มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ไว้ตามอัธยาศัยของบุคคลแล.

จบ อรรถกถากุกกุฬวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มาในวรรคนี้คือ

๑. กุกกุฬสูตร ๒. อนิจจสูตรที่ ๑ ๓. อนิจจสูตรที่ ๒ ๔. อนิจจสูตรที่ ๓ ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. อนัตตสูตรที่ ๑ ๙. อนัตตสูตรที่ ๒ ๑๐. อนัตตสูตรที่ ๓ ๑๑. กุลปุตตสุตรที่ ๑ ๑๒. กุลปุตตสูตรที่ ๒ ๑๓. กุลปุตตสูตรที่ ๓ ๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔.