พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร ว่าด้วยผู้ควรยกย่อง และไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ก.ย. 2564
หมายเลข  36932
อ่าน  649

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 433

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยผู้ควรยกย่อง และไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 433

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยผู้ควรยกย่อง และไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์

[๓๗๐] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูก่อนราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?

ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ ๑ ดูก่อนราธะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่ง คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ (อรหัตตผล) หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ (อรหัตตผล) ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้เลย.

[๓๗๑] ดูก่อนราธะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล ย่อมได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่งท่านเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ (อรหัตตผล) และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ (อรหัตตผล) ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ด้วย.

จบ ปฐมสมณพราหมณสูตร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 434

อรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจะ ๔ ไว้ในสูตร ๔ สูตร มีปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๕ เป็นต้น (และ) ตรัสการละกิเลสไว้ในสูตร ๒ สูตร แล.

จบอรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตร

จบ ปฐมวรรคที่ ๑