พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. นิโรธธรรมสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ก.ย. 2564
หมายเลข  36961
อ่าน  366

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 448

๑๒. นิโรธธรรมสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 448

๑๒. นิโรธธรรมสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจ ในสิ่งที่มีความดับ

    [๔๐๐] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 449

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาส ทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนราธะ อะไรเป็นนิโรธธรรม? ดูก่อนราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย เวทนาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สัญญาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สังขารเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ วิญญาณเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ นิโรธธรรมสูตร

จบ อายาจนวรรค

อรรถกถาอายาจนวรรคที่ ๓

ข้อความต่อไปนี้ง่ายทั้งนั้น. แท้จริงพระราธเถระนี้ชื่อว่าเป็นพระเถระผู้เฉียบแหลม. เพราะทอดพระเนตรเห็นพระเถระนี้ เหตุการณ์ที่ละเอียดจึงปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรมแก่พระราธะนั้น โดยนัยต่างๆ. เมื่อเป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 450

เช่นนี้ในราธสังยุตนี้ ๒ วรรคข้างต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยอำนาจการถาม.

วรรคที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจการทูลขอ

จบ อรรถกถาอายาจนวรรค ที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธรรมสูตร ๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธรรมสูตร ๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธรรมสูตร ๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธรรมสูตร ๙. ขยธรรมสูตร ๑๐. วยธรรมสูตร ๑๑. สมุทยธรรมสูตร ๑๒. นิโรธธรรมสูตร