พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มหาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ก.ย. 2564
หมายเลข  36981
อ่าน  433

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 481

๘. มหาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 481

๘. มหาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ

[๔๓๑] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีแบบอย่างอันใครเนรมิต เป็นสภาพไม่มีผล ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองนั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันแลกัน ไม่อาจให้เกิดสุข หรือทุกข์แก่กันแลกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน?

ได้แก่ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะ. สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีแบบอย่างอันใครเนรมิต เป็นหมัน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองนั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันแลกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันแลกัน แม้ผู้ใดจะเอาศัสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร เป็นแต่ศัสตราสอดเข้าไปตามช่องระหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้น อนึ่ง กำเนิดที่สำคัญมี ๑,๔๐๖,๖๐๐ กำเนิด, ๕๐๐ กรรม, ๕ กรรม, ๓ กรรม, กรรมสมบูรณ์,

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 482

กรรมครึ่งๆ กลางๆ , ปฏิปทา ๖๒, อันตรกัลป ๖๒, อภิชาติ ๖, ปุริสภูมิ ๘, อาชีวะ ๔,๙๐๐, ปริพาชก ๔,๙๐๐, นาควาส ๔,๙๐๐, อินทรีย์ ๒,๐๐๐, นรก ๓,๐๐๐, รโชธาตุ ๓๖, สัญญีครรภ์ ๗, อสัญญีครรภ์ ๗, นิคัณฐครรภ์ ๗, สภาวทิพย์ ๗, มนุษย์ ๗, ปีศาจ ๗, สระ ๗, ปวุฏใหญ่ ๗, ปวุฏ ๗๐๐, เหวใหญ่ ๗, เหวน้อย ๗๐๐, มหาสุบิน ๗, สุบิน ๗๐๐, มหากัลป ๘๔๐,๐๐๐ เหล่านี้ ทั้งพาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความหวังว่าเราจักอบรมกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สุดได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นและลดลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป สิ้นสุขและทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ฯลฯ พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป สิ้นสุขและทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อ วิญญาณมีอยู่. เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 483

ใครทำ ฯลฯ พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป สิ้นสุขและทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ฯลฯ พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป สิ้นสุขและทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ใช่ไหม?

ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ฯลฯ พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 484

สิ้นสุขและทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ใช่ไหม?

ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ภ. สิ่งใดที่ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ แม้สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ฯลฯ พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไป สิ้นสุขแลทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ใช่ไหม?

ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ นี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัย แม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราตถาคตเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

[๔๓๓] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 485

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อ สัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง.

จบ มหาทิฏฐิสูตร