พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เทสนาสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ก.ย. 2564
หมายเลข  37076
อ่าน  374

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 581

๑๑. วลาหกสังยุต

๑. เทสนาสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 581

๑๑. วลาหกสังยุต

๑. เทสนาสูตร

[๕๔๓] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหกแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหกเป็นไฉน? พวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหกก็มี ที่เป็นอุณหวลาหกก็มี ที่เป็นอัพภวลาหกก็มี ที่เป็นวาตวลาหกก็มี ที่เป็นวัสสวลาหกก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนี้เราเรียกว่าพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก.

จบเทสนาสูตรที่ ๑

๑๑. อรรถกถาวลาหกสังยุต

อรรถกถาเทสนาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในวลาหาสังยุต ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วลาหกกายิกา ได้แก่ เทวดาที่ล่องลอยไปในอากาศซึ่งเกิดขึ้นในหมู่เทพ นามว่าพลาหกะ.

บทว่า สีตวลาหกา ได้แก่ เทวดาพลาหก (เทวาก้อนเมฆ) ที่ทำให้เกิดความเย็น.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย (ความหมาย) อย่างเดียวกันนี้แล.

จบ อรรถกถาเทสนาสูตรที่ ๑