พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕๕. อัพภวลาหกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ก.ย. 2564
หมายเลข  37082
อ่าน  379

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 586

๕๕. อัพภวลาหกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 586

๕๕. อัพภวลาหกสูตร

[๕๕๒] กรุงสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เมฆหมอกมีในบางคราว พระเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ พวกเทวดาชื่อว่าอัพภวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 587

พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน เมื่อนั้น เมฆหมอกย่อมมีเพราะอาศัยความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น ดูก่อนภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เมฆหมอกมีในบางคราว.

จบ อัพภวลาหกสูตรที่ ๕๕

อรรถกถาสูตรที่ ๕๕

บทว่า วาโต โหติ ความว่า ลมตามปกติที่พัดมาจากทิศเหนือและจากทิศใต้เป็นต้น ที่มีในฤดูนั้น นี้เป็นลมมีฤดูเป็นสมุฏฐานนั่นเอง ส่วนลมแรงที่พัดทำลายต้นไม้เป็นต้น และลมที่เกิดขึ้นผิดฤดูกาลอย่างอื่น นี้ชื่อว่าลมที่เกิดด้วยอานุภาพเทวดา.

จบ อรรถกถาอัพภวลาหกสูตรที่ ๕๕