พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ฐิติสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ก.ย. 2564
หมายเลข  37103
อ่าน  403

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 600

๒. ฐิติสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 600

๒. ฐิติสูตร

[๕๘๗] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑ บางคนฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑ บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑ บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๑ ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธินับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส ในจำนวนนั้น หัวเนยใสเขา กล่าวว่าเป็นเลิศ ฉันใด ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิก็นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธานสูงสุดและดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบ ฐิติสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 601

อรรถกถาฐิติสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น สมาธิสฺมิํ ิติกุสโล ความว่า ไม่ฉลาดที่จะหยุดฌานไว้ได้ คือไม่สามารถจะหยุดฌานไว้ได้ชั่ว ๗ - ๘ ลัดนิ้วมือ.

จบ อรรถกถาฐิติสูตรที่ ๒