๑๐. พาหิรสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 10
๑๐. พาหิรสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 10
๑๐. พาหิรสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล
[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 11
และอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน.
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล
[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะ กล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ.
ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล
[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน. เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน.
จบ พาหิรสูตรที่ ๑๐
อนิจจวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 12
อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ ๗ - ๑๐
สูตรที่ ๗ เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจเวไนยสัตว์ผู้กำหนดอนิจจลักษณะเป็นต้น ในจักษุเป็นต้นที่เป็นอดีตและอนาคต ลำบากด้วยการยึดถือในรูปที่เป็นปัจจุบันว่ามีกำลัง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ ๗ - ๑๐
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑ อัชฌัตติกอนิจจสูตร ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร ๓. อัชฌัตติกอนัตตสูตร ๔. พาหิรอนิจจสูตร ๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรอนัตตสูตร ๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร ๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร ๑๐. พาหิรสูตร.
จบ อนิจจวรรคที่ ๑