๕. ปฐมโนอัสสาทสูตร ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 18
๕. ปฐมโนอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 18
๕. ปฐมโนอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ
[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในจักษุ ถ้าโทษแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 19
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ ถ้าความสลัดออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักษุ แต่เพราะความสลัดออกแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในใจ แต่เพราะคุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ ถ้าโทษแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ แต่เพราะโทษแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในใจ ถ้าความสลัดออกแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากใจ แต่เพราะความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจถูกครอบงำอยู่ เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านั้น โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจมิได้ถูกครอบงำอยู่.
จบ ปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 20
อรรถกถาปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิสฺสฏ แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า วิสญฺญุตฺตา แปลว่า ไม่ประกอบ. บทว่า วิปฺปมุตฺตา แปลว่า ไม่พ้นแล้ว. บทว่า วิปฺปริยาทิกเตน เจตสา ได้แก่ มีใจที่ไม่มีอะไรยึดไว้เป็นต้น. บทว่า ยํ ได้แก่ กิเลสชาตหรือวัฏฏะที่ยังละไม่ได้. จิตของพระเสขะทั้งหลาย เป็นอันชื่อว่า อันกิเลสชาตหรือวัฏฏะยังยึดมั่นอยู่เป็นต้น แต่ในที่นี้ จิตที่อันกิเลสชาตหรือวัฏฏะชื่อว่าไม่ยึดมั่นเป็นต้น เพราะกิเลสและวัฏฏะท่านละได้แล้วโดยประการทั้งปวง อธิบายว่า พระอริยเจ้ามีจิตปราศจากความยึดมั่น คือก้าวล่วงการยึดมั่นของกิเลสวัฏฏ์ฏะ.
จบ อรรถกถาปฐมในอัสสาทสูตรที่ ๕