พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สัพพสูตร ว่าด้วยทรงแสดงสิ่งทั้งปวง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37133
อ่าน  492

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 25

สัพพวรรคที่ ๓

๑. สัพพสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงสิ่งทั้งปวง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 25

สัพพวรรคที่ ๓

๑. สัพพสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงสิ่งทั้งปวง

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง. จักษุกับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้น พึงเลื่อนลอย ดุจวัตถุเทพดา แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็ตอบไม่ได้ และจะอึดอัดใจยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.

จบ สัพพสูตรที่ ๑

อรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑

สัพพวรรคที่ ๓ สัพพสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว ชื่อว่า สัพพะ มี ๔ อย่าง คือสัพพสัพพะ อายตนสัพพะ สักกายสัพพะ ปเทสสัพพะ

ใน ๔ อย่างนั้น

สัพพะว่าอะไรๆ ที่พระองค์ไม่เคยเห็นในโลกนี้ ย่อมไม่มี ไม่รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ ก็ไม่มี อนึ่ง พระตถาคตทรงรู้ยิ่งถึงเนยยะ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 26

ชื่อว่า สัพพสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ตํ สุณาถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังสิ่งนั้น นี้ชื่อว่า อายตนสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลปริยายแห่งธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ นี้ชื่อว่า สักกายสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพธมฺเมสุ วา ปมสมนฺนาหาโร อุปฺปชฺชติ จิตฺตํ มโน มานสํ ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ หรือว่า การรวบรวมใจครั้งแรก จิต มโน มานัส มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่จิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า ปเทสสัพพะ.

ดังนั้น เพียงอารมณ์ ๕ ชื่อว่า ปเทสสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สักกายสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า อายตนสัพพะ. เนยยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัพพสัพพะ. ปเทสสัพพะ ไม่ถึงสักกายสัพพะ สักกายสัพพะ ไม่ถึงอายตนสัพพะ อายตนสัพพะ ไม่ถึงสัพพสัพพะ. เพราะเหตุไร. เพราะว่าธรรมชื่อนี้ ที่ไม่เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมไม่มี. แต่ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา อายตนสัพพะ.

บทว่า ปจฺจกฺขาย แปลว่า ปฏิเสธ. บทว่า วาจา วตฺถุเทวสฺส ได้แก่ พึงเป็นเพียงวัตถุที่จะพึงกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น. พ้นอายตนะ ๑๒ นี้ ไม่อาจแสดงได้ว่าธรรมอื่นนี้ ชื่อว่า สภาวธรรม. บทว่า ปุฏฺโ จ น สมฺปาเยยฺย ความว่า เมื่อถูกถามว่า สิ่งอื่นคืออะไร ชื่อว่าสัพพะ ก็ไม่สามารถจะตอบได้ว่าชื่อนี้. บทว่า วิฆาตํ อาปชฺเชยฺย ได้แก่ถึงความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 27

ลำบาก. บทว่า ตํ ในคำว่า ยถา ตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมิํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำบ่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ถูกถามในสิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. ความจริง สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความคับแค้นใจในสิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. การเทินศิลาประมาณเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก เป็นเรื่องไม่ใช่วิสัย. การฉุดพระจันทร์พระอาทิตย์ลงมา ก็เหมือนกัน. เมื่อพยายามในสิ่งที่มิใช่วิสัยนั้นย่อมลำบากแท้ อธิบายว่า ต้องลำบากในสิ่งที่มิใช่วิสัยแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑