พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุติยปหานสูตร ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37135
อ่าน  365

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 28

๓. ทุติยปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 28

๓. ทุติยปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน. จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละเสีย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 29

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละสิ่งทั้งปวง.

จบ ทุติยปหานสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุติยปหานสูตรที่ ๓

ในทุติยปหานสูตรที่ ๓ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพํ อภิญฺา ปริญฺา ปหานาย ได้แก่ เพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละสิ่งทั้งปวง. บทว่า อภิญฺา ปริญฺา ปหาตพฺพํ ได้แก่ รู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละเสีย. บทที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุติยปหานสูตรที่ ๓