พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อนิจจาทิธรรมสูตร ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นธรรมดา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37144
อ่าน  901

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 54

อนิจจวรรคที่ ๕

๑. อนิจจาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นธรรมดา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 54

อนิจจวรรคที่ ๕

๑. อนิจจาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นธรรมดา

[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง คืออะไร. คือจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 55

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์.

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา.

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง.

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้.

[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ.

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง.

[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้.

[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงวุ่นวาย.

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน

[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงขัดข้อง คืออะไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ขัดข้อง ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ก็ขัดข้อง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

จบ อนิจจวรรคที่ ๕

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 56

อรรถกถาอนิจจวรรคที่ ๕

ในอนิจจวรรคที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ญาตปริญญามาในบทว่า ปริญฺเยฺยํ. แต่ปริญญา ๒ นอกนี้ พึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วยเหมือนกัน. เฉพาะตีรณปริญญาและปหานปริญญา มาทั้งในบท ปริญฺเยฺย ทั้งในบท ปหาตพฺพ. แต่ปริญญาทั้ง ๒ นอกนี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยเหมือนกัน. บทว่า สจฺฉิกาตพฺพํ แปลว่า พึงกระทำให้ประจักษ์. แม้ในบทว่า อภิญฺเยฺยา ปริญฺเยฺยํ นี้ ถึงท่านไม่ได้กล่าวถึงปหานปริญญาก็จริง แต่พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยเหมือนกัน. บทว่า อุปทฺทุตํ ได้แก่ ด้วยอรรถมากมาย. บทว่า อุปสฺสฏฺํ ได้แก่ ด้วยอรรถว่าถูกกระทบ. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอนิจจวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร ๓. อันตตสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร ๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร ๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญญาปริญเญยยสูตร ๙. อุปทุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

จบ ปฐมปัณณาสก์

จบ สฬายตนวรรค

รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้ คือ

๑. สุทธวรรค ๒. ยมกวรรค ๓. สัพพวรรค ๔. ชาติธรรมวรรค ๕. อนิจจวรรค.