พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมมิคชาลสูตร ว่าด้วยผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37155
อ่าน  573

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 66

มิคชาลวรรคที่ ๒

๑. ปฐมมิคชาลสูตร

ว่าด้วยผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 66

มิคชาลวรรคที่ ๒

๑. ปฐมมิคชาลสูตร

ว่าด้วยผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว

[๖๖] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว ฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า อยู่ด้วยเพื่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่าผู้มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิด ความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 67

เพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าไม้และป่าหญ้า เงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากกลิ่นอาย ควรเป็นที่ประกอบงานลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่ามีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหาเป็นเพื่อน เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้น จึงเรียกว่า มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน.

[๖๗] ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 68

ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ดูก่อนมิคชาละ เราเรียกผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตัณหาซึ่งเป็นเพื่อน เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว.

จบ ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑

มิคชาลวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑

มิคชาลวรรคที่ ๒ ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา ได้แก่ พึงกำหนดรู้ด้วยจักขุวิญญาณ. แม้ในสภาวะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิฏฺา ความว่า จะเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม. บทว่า กนฺตา แปลว่า น่าใคร่. บทว่า มนาปา แปลว่า น่าเจริญใจ. บทว่า ปิยรูปา แปลว่า เป็นที่รัก. บทว่า กามูปสญฺหิตา ความว่า ประกอบด้วยความใคร่ ซึ่งเกิดขึ้นทำเป็นอารมณ์. บทว่า รชนิยา แปลว่า เป็นที่ตั้งความกำหนัด อธิบายว่า เป็นเหตุให้เกิดความกำหนัด. บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า สญฺโโค ได้แก่ สัญโญชน์. บทว่า นนฺทิสฺโชนสมฺปยุตฺโต ได้แก่ พัวพันด้วยความเพลินและความผูกพัน. บทว่า อรญฺวนปฏฺานิ ได้แก่ ป่าและติณชาตที่เกิดในป่า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 69

ในบทเหล่านั้น แม้ในอภิธรรมท่านกล่าวตรงๆ ว่า ป่าที่ออกไปนอกเสาเขื่อนทั้งหมดนั้น เป็นอรัญญะ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เสนาสนะที่ให้สำเร็จเป็นอารัญญิกธุดงค์ องค์คุณของผู้อยู่ป่า ที่ท่านกล่าวว่า โดยที่สุดชั่ว ๕๐๐ ธนู นั้นแหละ พึงทราบว่า ท่านประสงค์เอาแล้ว. บทว่า วนปฏฺํ ได้แก่ ที่เลยชายบ้านไป พวกมนุษย์ไม่ใช้สอย ซึ่งไม่เป็นที่ไถหว่าน. สมจริงด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า วนปฏฺํ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะไกล. คำว่า วนปฏฺํ นี้เป็นชื่อไพรสณฑ์. คำว่า วนปฏฺํ นี้เป็นเหตุที่น่ากลัว. คำว่า วนปฏฺํ นี้เป็นชื่อของความกลัวขนลุกชัน. คำว่า วนปฏฺํ นี้เป็นชื่อของชายแดน. คำว่า วนปฏฺํ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ห่างไกลมนุษย์. ในที่นี้ หมู่ไม้ที่อยู่ในป่า เว้นปริยายหนึ่งนี้ที่ว่าชายแดน ก็พึงทราบโดยปริยายที่เหลือแล.

บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า ที่สุดแดน คือไกลมาก. บทว่า อปฺปสทฺทานิ ได้แก่ ชื่อว่ามีเสียงน้อย เพราะไม่มีเสียงครกเสียงสากและเสียงเด็ก เป็นต้น. บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ ได้แก่ ชื่อว่ามีเสียงกึกก้องน้อย เพราะไม่มีบันลือลั่นและกึกก้องอย่างมากของเสียงนั้นๆ. บทว่า วิชนวาตานิ ได้แก่ เว้นจากลมในร่างกายของคนผู้สัญจร. บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยกานิ ได้แก่ สมควรแก่การงานลับของพวกมนุษย์. บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปานิ ได้แก่ สมควรแก่การหลีกเร้น.

จบ อรรถกถาปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑