พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ตติยสมิทธิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37159
อ่าน  517

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 73

๕. ตติยสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 73

๕. ตติยสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์

[๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์หรือบัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ

จบ ตติยสมิทธิสูตรที่ ๕

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๓ - ๕

ในสมิทธิมารปัญจสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมิทฺธิ ความว่า ได้ชื่ออย่างนี้เพราะมีอัตตภาพบริบูรณ์. เล่ากันว่า พระเถระนั้นมีอัตตภาพงามน่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เหมือนพวงมาลาที่แขวนไว้ เหมือนห้องมาลาที่ตกแต่งไว้ ฉะนั้นจึงนับว่า สมิทธิ นั่นแล.

ด้วยบทว่า มาโร ท่านสมิทธิถามถึงความตาย คำว่า มาร ในคำว่า มารปญฺตฺติ เป็นนามบัญญัติ เป็นนามไธย. ในบทว่า อตฺถิ ตตฺถ มาเร วา มารปญฺตฺติ วา นั้น บทว่า มรณํ วา มรณํ นี้ท่านแสดงว่า นามมีอยู่. สูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้น. สูตรที่ ๕ ก็เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๓ - ๕