พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. จตุตถสมิทธิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37160
อ่าน  385

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 74

๖. จตุตถสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 74

๖. จตุตถสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

[๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นโลกหรือบัญญัติว่าโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น.

[๗๖] ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มี ณ ที่นั้น.

จบ จตุตถสมิทธิสูตรที่ ๖

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๖

ในสมิทธิสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลโก ความว่า ที่ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า แตกทำลาย. ในสูตรทั้ง ๕ ตั้งแต่สูตรที่พระมิคชาลเถระอาราธนา ตรัสเฉพาะวัฏฏะและวิวัฏฏะเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๖