พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อุปเสนสูตร ว่าด้วยกายเรี่ยราดประดุจกําแกลบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37161
อ่าน  419

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 75

๗. อุปเสนสูตร

ว่าด้วยกายเรี่ยราดประดุจกําแกลบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 75

๗. อุปเสนสูตร

ว่าด้วยกายเรี่ยราดประดุจกำแกลบ

[๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระสารีบุตร ท่านพระอุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะ กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราดประดุจกำแกลบ ในที่นี้แล เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระอุปเสนะว่า ความที่กายของท่านพระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระอุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไปภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราดประดุจกำแกลบเล่า ณ ที่นี้ ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า ท่านพระสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ท่านพระสารีบุตร เรามิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 76

สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ มมังการและมานานุสัยได้เด็ดขาด เป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะจึงไม่มีความตรึกอย่างนั้น.

ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นสู่เตียงนำไปภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะเรี่ยราดประดุจกำแกลบในที่นั้นเอง ฉะนั้น.

จบ อุปเสนสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗

ในอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สีตวเน ได้แก่ ในป่าของป่าช้ามีชื่ออย่างนั้น. บทว่า สปฺปโสณฺฑิกปพฺภาเร ได้แก่ ที่เงื้อมเขามีชื่ออย่างนั้น เพราะเหมือนกับพังพานงู. บทว่า อุปเสนสฺส ได้แก่ ท่านอุปเสนะผู้เป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี. บทว่า อาสีวิโส ปติโต โหติ ความว่า เล่ากันมาว่า พระเถระเสร็จภัตกิจแล้ว ถือมหาจีวร ถูกลมอ่อนๆ ทางช่องหน้าต่าง ที่ร่มเงาถ้ำ รำเพยพัด นั่งทำสูจิกรรมผ้านุ่ง ๒ ชั้น. ขณะนั้น ลูกอสรพิษ เลื้อยเล่นอยู่บนหลังคาถ้ำ ลูกงูเหล่านั้น ตัวหนึ่งตกลงมาถูกจะงอยบ่าพระเถระ. พระเถระถูกพิษเข้า ฉะนั้นพิษของงูนั้นจึงซาบซ่านไปในกายของพระเถระ เหมือนเปลวประทีปลามไปตามไส้ตะเกียง. พระเถระทราบว่าพิษแล่นมาดังนั้น พิษนั้นพอตกลงเท่านั้น แล่นไปตามกำหนดก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านจึงใช้พลังฤทธิ์ของตนอธิษฐานว่า ขออัตตภาพนี้จงอย่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 77

พินาศในถ้ำ ดังนี้แล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมา. บทว่า ปุรายํ กาโย อิเธว วิถีรติ ความว่า พวกท่านจงนำกายนั้นออกข้างนอกชั่วเวลาที่ยังไม่กระจัดกระจาย. บทว่า อญฺถตฺตํ แปลว่า เป็นอย่างอื่น. บทว่า อินฺทฺริยานํ วิปริณามํ ได้แก่ ภาวะ คืออินทรีย์มีจักขุนทรีย์และโสตินทรีย์เป็นต้นละปกติไป บทว่า ตตฺเถว วิกิริ ความว่า กระจัดกระจายบนเตียงน้อย นั่นเอง ในที่ที่นำออกมาตั้งไว้ภายนอก.

จบ อรรถกถาอุปเสนสูตรที่ ๗