พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ตติยราธสูตร ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาธรรมแก่ราธภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37171
อ่าน  400

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 93

๕. ตติยราธสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาธรรมแก่ราธภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 93

๕. ตติยราธสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาธรรมแก่ราธภิกษุ

[๙๔] ดูก่อนราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูก่อนราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย.

จบ ตติยราธสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 94

คิลานวรรคที่ ๓

อรรถกถาคิลานสูตรที่ ๑ - ๕

คิลานวรรคที่ ๔ คิลานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อมุกสฺมิํ แปลว่า ในวิหารโน้น. อนึ่ง บาลี ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่ ไม่มีใครรู้จัก คือไม่ปรากฏ จริงอยู่ ภิกษุบางรูปแม้ใหม่ ก็มีคนรู้จัก เหมือนอย่าง พระราหุลเถระ และ สุมนสามเณร. แต่ภิกษุนี้ยังใหม่ และไม่มีใครรู้จัก. คำที่เหลือในข้อนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วแล. แม้ในสูตรทั้ง ๔ อื่นจากนี้ ก็อย่างนั้น.

จบ อรรถกถาคิลานสูตรที่ ๑ - ๕