พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ภิกขุสูตร ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกําหนดรู้ทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37174
อ่าน  597

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 97

๘. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกําหนดรู้ทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 97

๘. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

[๙๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นในโลกนี้แล ย่อมถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่ออะไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ จึงพยากรณ์แก่ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เราประพฤติพรหมจรรย์ใน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 98

พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พยากรณ์แล้วอย่างนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุ แม้น้อยหนึ่ง จะไม่ควรติเตียนละหรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อพยากรณ์อย่างนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุ แม้น้อยหนึ่ง ย่อมไม่ควรติเตียน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา ก็เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ทุกข์ซึ่งพวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้น เป็นไฉน เธอทั้งหลายถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า อาวุโส จักษุแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้จักษุเป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯลฯ ใจก็เป็นทุกข์ ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ข้อนั้นๆ อาวุโส ข้อนี้นั้นแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 99

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้แล.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๘

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘

ในภิกขุสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

โน อักษร ในคำว่า อิธ โน นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น. ทุกขลักขณะ พึงทราบว่า ตรัสไว้ในที่นี้อย่างเดียว.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘