พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ฉันนสูตร ว่าด้วยฉันนภิกษุอาพาธหนัก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37180
อ่าน  785

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 108

๔. ฉันนสูตร

ว่าด้วยฉันนภิกษุอาพาธหนัก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 108

๔. ฉันนสูตร

ว่าด้วยฉันนภิกษุอาพาธหนัก

[๑๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูก่อนท่านจุนทะ เราจงพากันเข้าไปหาท่านพระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 109

มหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดลงไม่กำเริบขึ้น ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.

[๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเหล็กแหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเส้นเชือกหนังอันเหนียวขันที่ศีรษะฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเสียดแทงที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อโคที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าคนละแขน ลนให้เร่าร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของกระผมก็มากยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักนำศาตรามาฆ่าตัวตาย ไม่ปรารถนาเป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 110

[๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะจงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ถ้าโภชนะเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันทะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าเภสัชเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐากที่สมควรมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านพระฉันนะอย่านำศาตรามาเลย จงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้เภสัชเป็นที่สบายของกระผมก็มิใช่ไม่มี เภสัชเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมิใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดาอันกระผมบำเรอแล้วด้วยอาการเป็นที่พอใจอย่างเดียว ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจตลอดกาลนานมา ข้อที่พระสาวกบำเรอพระศาสดาด้วยอาการเป็นที่พอใจ ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ นี้สมควรแก่พระสาวก ความบำเรอนั้นไม่เป็นไป ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด.

ว่าด้วยการถามปัญหาฉันนภิกษุ

[๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่านพระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 111

สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา.

[๑๐๘] สา. ดูก่อนท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา.

[๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 112

พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

[๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้ เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มี ตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่ ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่ เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามาฆ่าตัวตาย.

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 113

ฉันนะนำศาตรามาฆ่าตัวตายแล้ว ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์คุณเครื่องเป็นผู้ไม่มีสกุลที่พึงเข้าไปหาแล้วต่อหน้าเธอ มิใช่หรือ.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะ มีอยู่ ท่านฉันนะมีสกุลที่เป็นมิตรสกุล ที่เป็นสหายสกุล พึงเข้าไปหาอยู่ในวัชชีคามนั้น.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรสกุล ที่เป็นสหายสกุล ที่พึงเข้าไปหาเหล่านั้นมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึงเข้าไปหาด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ยึดถือกายอื่นด้วย เราเรียกภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่พึงเข้าไปหา สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศาตรามาฆ่าตัวตาย ไม่มีสกุลที่พึงเข้าไปหา ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด.

จบ ฉันนสูตรที่ ๔

อรรถกถาฉันนสูตรที่ ๔

ในฉันนสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น. ไม่ใช่พระเถระผู้ออกไปครั้งเสด็จมหาภิเนษกรมณ์. บทว่า ปฏิสลฺลานา ได้แก่ จากผลสมาบัติ. บทว่า คิลานปุจฺฉกา ได้แก่ ผู้บำรุงภิกษุไข้. ชื่อว่า การบำรุงภิกษุไข้ อันพระพุทธเจ้าสรรเสริญแล้ว อันพระพุทธเจ้าชมเชยแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สีสเวํ ทเทยฺย ความว่า ผ้าโพกศีรษะ ชื่อว่า สีสเวฐนะ และพึงให้ผ้าโพกศีรษะนั้น บทว่า สตฺถํ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 114

ได้แก่ ศัสตราอันนำเสียซึ่งชีวิต (ฆ่าตัวตาย). บทว่า นาวกงฺขามิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนา. บทว่า ปริจิณฺโณ ได้แก่จ ปรนนิบัติแล้ว. บทว่า มนาเปน ได้แก่ กายกรรมเป็นต้น อันน่าเจริญใจ. จริงอยู่ พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ย่อมปรนนิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ย่อมถูกปรนนิบัติ พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้อันเขาปรนนิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ชื่อว่า ผู้อันเขาปรนนิบัติ. บทว่า เอตํ หิ อาวุโส สาวกสฺส ปฏิรูปํ ความว่า ดูก่อนอาวุโส นั่นชื่อว่า เป็นสิ่งที่สมควรแก่พระสาวก. บทว่า อนุปวชฺชํ ได้แก่ ไม่เป็นไป คือไม่มีปฏิสนธิ. บาลีว่า ปุจฺฉาวุโส สารีปุตฺต สุตฺวา เวทิสฺสาม นี้ ชื่อว่า ปวารณาของพระสาวกเปิดโอกาสให้ถาม คำว่า เอตํ มม เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจการยึดถือด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ. บทว่า นิโรธํ ทิสฺวา ได้แก่ รู้ธรรมเป็นที่สิ้นไป และเสื่อมไป. บทว่า เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ สมนุปสฺสามิ ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. ในฐานะมีประมาณเท่านี้ พระฉันนเถระใส่ปัญหาที่พระสารีบุตรถามลงในพระอรหัต กล่าวแก้ปัญหานั้น. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระ แม้รู้ว่า พระฉันนเถระเป็นปุถุชน ก็ไม่ได้บอกท่านว่า เป็นปุถุชน หรือ ว่าเป็นพระขีณาสพ ได้แต่นิ่งอย่างเดียว. ส่วนพระจุนทเถระคิดว่า เราจะให้รู้ว่าท่านเป็นปุถุชน แล้วได้ให้โอวาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะท่านไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาปางตาย จึงกล่าวว่า เราจะนำศัสตรามา ฉะนั้น ท่านจึงเป็นปุถุชน จึงแสดงว่า เราจะใส่ใจแม้ในเรื่องนี้ อนึ่ง เพราะเหตุที่เห็น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 115

ความดับแห่งอายตนะ ๖ แล้วกล่าวว่า เราจะพิจารณาเห็นจักษุเป็นต้น ด้วยอำนาจคาหะ (ความยึดถือ) ทั้ง ๓ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวแสดงเฉพาะข้อที่ท่านเป็นปุถุชน แม้นี้ว่าศาสนาของพระผู้พระภาคเจ้า อันผู้มีอายุควรใส่ใจ. บทว่า นิจฺจกปฺปํ แปลว่า ตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า นิสฺสิตสฺส ได้แก่ ผู้อันตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยแล้ว. บทว่า จลิตํ ได้แก่ หวั่นไหวแล้ว ท่านผู้มีอายุ ไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ยังละการยึดถือไม่ได้ว่า เราเสวยเวทนา เวทนาของเรา บัดนี้ความหวั่นไหวนั้นยังมีอยู่ แม้ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวกะท่านว่า ท่านเป็นปุถุชน.

บทว่า ปสฺสทฺธิ ได้แก่ กายปัสสัทธิ ระงับกาย และจิตตปัสสัทธิ ระงับจิต อธิบายว่า ชื่อว่า กิเลสปัสสัทธิ ระงับกิเลส บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า อสติ ความว่า เมื่อไม่มีความอาลัย ความใคร่ ความกลุ้มรุมเพื่อภพต่อไป. บทว่า. อาคติคติ น โหติ ความว่า ชื่อว่า การมาย่อมมีด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า การไปย่อมมีด้วยอำนาจคติภูมิเป็นที่ไป. บทว่า จุตูปปาโต ความว่า ชื่อว่า จุติ ด้วยอำนาจการเคลื่อนไป ชื่อว่า อุปปาต ด้วยอำนาจการเข้าถึง. บทว่า เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน ความว่า ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกหน้า ไม่มีในโลกทั้งสอง. บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า นี้แลเป็นที่สุด นี้เป็นการขาด นี้เป็นการหนุนเวียนของวัฏฏทุกข์ ทุกข์ในวัฏฏะ และกิเลสทุกข์ ทุกข์เกิดแต่กิเลส ก็ในข้อนี้ มีอธิบายเพียงเท่านี้แล. ก็ชนเหล่าใดถือเอาว่า โดยระหว่างภพทั้ง ๒ จึงปรารถนาความไม่มีในระหว่าง. คำของชนเหล่านั้นไร้ประโยชน์. จริงอยู่ ความเป็นในระหว่างภพ ท่าน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 116

คัดค้านไว้แล้วในพระอภิธรรมนั้นแล. ก็คำว่า อนฺตเรน เป็นคำแสดงระหว่างเขตกำหนด เพราะฉะนั้น ในที่นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้ว่า กำหนดอื่นอีกในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกหน้าก็ไม่มี ในโลกทั้ง ๒ ก็ไม่มี.

บทว่า สตฺถํ อาหเรสิ ได้แก่ นำศัสตรามาทำลายชีวิต คือตัดก้านคอ. ต่อมามรณภัยก็มาถึงท่าน ในขณะนั้น คตินิมิต ย่อมปรากฏ. ท่านรู้ว่าตนเป็นปุถุชน มีจิตสลด เริ่มตั้งวิปัสสนา กำหนดสังขารเป็นอารมณ์ บรรลุพระอรหัต เป็น พระอรหันตสมสีสี ปรินิพพานแล้ว. คำว่า สมฺมุขาเยว อนุปวชฺชตา พฺยากตา นี้เป็นคำพยากรณ์ ในเวลาที่พระเถระเป็นปุถุชน ก็จริง ถึงอย่างนั้นด้วยคำพยากรณ์นี้ ท่านได้ปรินิพพานในเวลาติดต่อกันนั้นเอง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงถือเอาพยากรณ์นั้นแลตรัส.

บทว่า อุปวชฺชกุลานิ ได้แก่ ตระกูลที่จะพึงเข้าไปหา. ด้วยคำนี้ พระเถระเมื่อถามถึงโทษในการคลุกคลีกด้วยตระกูล ในปฏิปทาข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่ออุปัฏฐาก และอุปัฏฐายิกามีอยู่ ภิกษุนั้นจักปรินิพพานในศาสนาของพระองค์หรือ. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้คลุกคลีในตระกูล จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ภิกษุเหล่านั้นมีอยู่หรือ. ได้ยินว่าในที่นี้ ความที่พระเถระเป็นผู้ไม่คลุกคลีในตระกูลได้ปรากฏแล้ว. คำที่เหลือ ในทุกๆ บท ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาฉันนสูตรที่ ๔