พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยเอชสูตร ว่าด้วยไม่พึงสําคัญอะไรๆ ว่าเป็นของเรา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37185
อ่าน  573

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 137

๘. ทุติยเอชสูตร

ว่าด้วยไม่พึงสําคัญอะไรๆ ว่าเป็นของเรา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 137

๘. ทุติยเอชสูตร

ว่าด้วยไม่พึงสำคัญอะไรๆ ว่าเป็นของเรา

[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่ารูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่าจักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 138

เป็นปัจจัย ของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งชิวหา ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่าใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่าธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่ามโนวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่ามโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่าสิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมเพลิดเพลินภพนั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุ และอายตนะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 139

ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่าขันธ์ ธาตุ และอายตนะของเรา เธอเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับสนิทเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยเอชสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมเอชสูตรที่ ๗ - ทุติยเอชสูตรที่ ๘

ในปฐมเอชสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอชา ได้แก่ ตัณหา. ตัณหา แม้นั้น ท่านเรียกว่า เอชา เพราะอรรถว่า หวั่นไหว. อนึ่ง เอชา นั้น ชื่อว่า โรคะ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน. ชื่อว่า คัณฑะ ฝี เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายในภายใน. ชื่อว่า สัลละ ลูกศร เพราะอรรถว่า ตัด. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่เอชา ชื่อว่า เป็นตัวตัณหา เป็นตัวโรค และเป็นลูกศร ฉะนั้น. คำว่า จกฺขุ น มฺเยฺย เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. สูตรทั้งหมด ท่านจัดไว้ในหนหลังชักมาแสดงไว้แม้ในที่นี้. สูตรที่ ๘ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาปฐมเอชสูตรที่ ๗ - ทุติยเอชสูตรที่ ๘