พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยทวยสูตร ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ก.ย. 2564
หมายเลข  37187
อ่าน  455

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 140

๑๐. ทุติยทวยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 140

๑๐. ทุติยทวยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง

[๑๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง เป็นอย่างไร จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 141

แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรม ทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่า จักษุสัมผัส.

[๑๒๕] ถึงจักษุสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านั้น ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหาวิญญาณ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 142

ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่า ชิวหาสัมผัส.

[๑๒๖] แม้ชิวหาสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรม ๓ ประการนี้แล เรียกว่า มโนสัมผัส.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 143

[๑๒๗] แม้มโนสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสอง ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

ฉันนวรรคที่ ๔

อรรถกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

ในทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อิตฺเถตํ ทฺวยํ เป็น เอวเมตํ ทฺวยํ แปลว่า ทั้ง ๒ นี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า จลญฺเจว พฺยาธิญฺจ ความว่า ย่อมหวั่นไหวและเจ็บป่วย เพราะไม่เป็นไปตามสภาวะของตน. บทว่า โยปิ เหตุ โยปิ ปจฺจโย ความว่า วัตถุและอารมณ์ เป็นเหตุและเป็นปัจจัย แก่จักขุวิญญาณ. บทว่า จกฺขุโต นิจฺจํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นของเที่ยง เพราะเหตุไร. เหมือนอย่างว่าบุตรผู้เกิดในท้องของทาสีของชายผู้เป็นทาส ก็กลายเป็นทาสคนหนึ่งไป ฉันใด วัตถารมณ์ วัตถุและอารมณ์ ก็เป็นของ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 144

ไม่เที่ยง เช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า สงฺคติ แปลว่า มาประจวบเข้า. บทว่า สนฺนิปาโต ได้แก่ ประชุมรวมกัน บทว่า สมวาโย ได้แก่ มารวมเป็นอันเดียวกัน. บทว่า อยํ วุจฺจติ จกฺขุสมฺผสฺโส ความว่า ความประจวบด้วยปัจจัยนี้ คือ ชื่อว่าประจวบกัน ประชุมกัน มาพร้อมกัน โดยชื่อว่าปัจจัยนั่นเอง เพราะเกิดด้วยปัจจัย กล่าวคือ ความประจวบ ความประชุม และความมาพร้อมกัน นี้เรียกว่า จักขุสัมผัส. บทว่า โสปิ เหตุ ความว่า จักษุและอารมณ์ ขันธ์ ๓ ที่เป็นสหชาตธรรม เป็นเหตุแห่งผัสสะ ธรรมดังว่ามานี้ เรียกว่า เหตุ. บทว่า ผสฺโส เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า เวทนาย่อมเสวย เจตนาย่อมคิด สัญญาย่อมจำได้ ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้วเท่านั้น บทว่า ผุฏฺโ ได้แก่ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยผัสสะ. เวทนาอันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งอารมณ์เท่านั้น อธิบายว่า ย่อมคิดก็มี. ดังนั้น ในพระสูตรนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์ ๓๐ ถ้วน. อย่างไร. คือ อันดับแรก ในจักขุทวาร วัตถุ (จักขุวัตถุ) และอารมณ์ จัดเป็น รูปขันธ์ ขันธ์ใดเสวยอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ขันธ์ใดคิดอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าสังขารขันธ์ ขันธ์ใด จำได้ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ขันธ์ใดรู้แจ้งซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ แม้ในทวารที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่แม้ในมโนทวาร วัตถุรูปจัดเป็นรูปขันธ์ โดยส่วนเดียว. เมื่ออารมณ์ คือรูป มีอยู่ แม้อารมณ์ก็จัดเป็น รูปขันธ์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 145

ดังนั้น จึงได้ขันธ์ ๕ ในทวาร ๖ รวมเป็นขันธ์ ๓๐ ถ้วน. แต่เมื่อว่าโดยสังเขป สหชาตธรรมเหล่านี้ จัดเป็นขันธ์ ๔ ในทวารทั้ง ๖. เมื่อตรัส ขันธ์ ๕ พร้อมด้วยปัจจัย ให้พิสดารว่า ไม่เที่ยง เป็นอันทรงแสดง พระสูตรนี้ ตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้จะตรัสรู้แล.

จบ อรรคกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

จบ ฉันนวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปโลกสูตร ๒. สุญญสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ฉันนสูตร ๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร ๗. ปฐมเอชสูตร ๘. ทุติยเอชสูตร ๙. ปฐมทวยสูตร ๑๐. ทุติยทวยสูตร.