๑. ปฐมสังคัยหสูตร ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 146
ฉฬวรรคที่ ๕
๑. ปฐมสังคัยหสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 146
ฉฬวรรคที่ ๕
๑. ปฐมสังคัยหสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖
[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ ๖ ประการ เป็นไฉน คือจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้.
[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า.
[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวัง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 147
อายตนะเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อน ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่ บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจ และเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึงบรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเคืองใจว่า รูปไม่น่ารักของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึงบรรเทาความเคืองใจในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเคืองใจว่า เสียงไม่น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาดไม่น่ารักใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้าแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่เป็นสุขทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายเพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความสำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มี
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 148
สัญญา ย่อมวนเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษาใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วในอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้นจิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ.
จบ ปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑
ฉฬวรรคที่ ๕
อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑
ในปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑ ฉฬวรรคที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อทนฺตา แปลว่า ไม่ฝึกแล้ว บทว่า อคุตฺตา แปลว่า ไม่คุ้มครองแล้ว บทว่า อรกฺขิตา แปลว่า ไม่รักษาแล้ว บทว่า อสํวุตา แปลว่า ไม่ปิดแล้ว บทว่า ทุกฺขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่ง ต่างด้วยทุกข์ในนรกเป็นต้น บทว่า สุขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขมีประมาณยิ่ง ต่างด้วยฌาน และมรรคผล. บาลีว่า อธิวาหา ดังนี้ก็มี ความก็เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 149
บทว่า ฉเฬว แยกสนธิเป็น ฉ เอว. บทว่า อสํวุโต ยตฺถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ความว่า บุคคลผู้เว้นจากการสำรวมในอายตนะเหล่าใดย่อมถึงทุกข์ บทว่า เตสญฺจ เย สํวรณํ อเวทิํสุ ความว่า ชนเหล่าใดประสบ คือได้ ความสำรวมอายตนะเหล่านั้น บทว่า วิหรนฺตานวสฺสุตา ได้แก่ เป็นผู้อันราคะ ไม่ชุ่ม ไม่เปียกอยู่ บทว่า อสาทุํ สาทุํ ได้แก่ ไม่อร่อย และอร่อย.
บทว่า ผสฺสทฺวยํ สุขทุกฺขํ อุเปกฺเข ได้แก่ ผัสสะในอุเบกขา มี ๒ คือสุขสัมผัส หรือทุกขสัมผัส อธิบายว่า พึงให้อุเบกขาเกิดขึ้นในผัสสะ ๒ อย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ผสฺสทฺวยํ สุขทุกฺขํ อุเปกฺขา (ผัสสะ ๒ สุขทุกข์ อุเปกขา) อธิบายว่า สุขทุกข์ อุเบกขา มีผัสสะเป็นเหตุ. บุคคลไม่ยังความยินดีให้เกิดขึ้นในสุข ไม่ยังความยินร้ายให้เกิดขึ้นในทุกข์ ก็พึงเป็นผู้อุเบกขาวางเฉย. บทว่า อนานุรุทฺโธ อวิรุทฺธ เกนจิ ความว่า ไม่พึงยินดี ไม่พึงยินร้ายกับอารมณ์ไรๆ.
บทว่า ปปญฺจสญฺา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีสัญญาเนิ่นช้า เพราะกิเลสสัญญา. บทว่า อิตรีตรา นรา ได้แก่ สัตว์ผู้ต่ำทราม. บทว่า ปปญฺจยนฺตา อุปยนฺติ ความว่า ยินดีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมเข้าถึงวัฏฏะ บทว่า สญฺญิโน ได้แก่ สัตว์ผู้มีสัญญา บทว่า มโนมยํ เคหสิตญฺจ สพฺพํ ความว่า จิตสำเร็จด้วยใจอันอาศัยเรือน คือกามคุณ ๕ ทั้งปวง นั่นเอง. บทว่า ปนุชฺช แปลว่า บรรเทา คือนำออก บทว่า เนกฺขมฺมสิตํ อิริยติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นชาติบัณฑิต ย่อมดำเนินจิตอาศัยเนกขัมมะ บทว่า ฉสฺสุ ยทา สุภาวิโต ความว่า คราวใด
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 150
ใจอบรมด้วยดีในอารมณ์ ๖. บทว่า ผุฏฺสฺส จิตฺตํ น วิกมฺปเต กฺวจิ ความว่า หรือเมื่อบุคคลถูกสุขสัมผัสกระทบแล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไม่ไหวในอารมณ์อะไรๆ บทว่า ภวถ ชาติมรณสฺส ปารคา ความว่า จงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา.
จบ อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑