พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยสังคัยหสูตร ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ก.ย. 2564
หมายเลข  37191
อ่าน  457

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 150

๒. ทุติยสังคัยหสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 150

๒. ทุติยสังคัยหสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว

[๑๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวกภิกษุหนุ่ม ทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อมขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น.

[๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระสุคต โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้ถึงพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 151

พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็นในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคยได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคยได้ดมแล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้ลิ้มแล้ว ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว ทั้งไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราถูกต้อง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 152

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้งไม่ได้เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

[๑๓๓] พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูก่อนมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพันในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือจักไม่พัวพันที่ได้รู้แจ้ง ดูก่อนมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 153

มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า

[๑๓๔] ลืมสติไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน. ลืมสติไปแล้วเพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน. ลืมสติไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน. ลืมสติไปแล้วเพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรส

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 154

เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน. ลืมสติไปแล้วเพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน. ลืมสติไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน.

[๑๓๕] บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 155

รูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียงทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 156

ทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมอยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการนี้.

[๑๓๖] พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร สาธุๆ เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 157

[๑๓๗] ลืมสติไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าวว่า ไกลนิพพาน.

[๑๓๘] บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าวว่า ใกล้นิพพาน.

ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๑๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 158

โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกยบุตรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ ทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒

ในทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มาลุกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของนางมาลุกยพราหมณี. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในการขอโอวาทนั้นก่อน ทรงติเตียนบ้าง ทรงปลอบบ้างซึ่งพระเถระด้วยเหตุนี้ อย่างไร คือได้ยินว่าพระเถระนั้น ในเวลาเป็นหนุ่ม มัวเมาในรูปารมณ์เป็นต้น ภายหลังในเวลาแก่ ปรารถนาอยู่ป่า จึงขอกรรมฐาน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสโดยพระประสงค์ดังนี้ว่า เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่มๆ ในที่นี้ พวกเธอประมาทในเวลาที่เขาหนุ่ม ในเวลาแก่พึงเข้าป่ากระทำสมณธรรมเหมือนพระมาลุกยบุตร ชื่อว่า ทรงติเตียนพระเถระ.

ก็เพราะเหตุที่พระเถระ ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม แม้ในเวลาที่ตนแก่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสโดยพระประสงค์ดังนี้ว่า เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่มๆ ในที่นี้อย่างไร มาลุกยบุตรของเรานี้ แม้ในเวลาแก่ก็ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรมจึงขอกรรมฐาน ธรรมดาว่า พวกท่านแม้ในเวลาเป็นหนุ่ม จะไม่กระทำความเพียรกันหรือ ชื่อว่า ทรงปลอบพระเถระ.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 159

บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย นาม. บทว่า กิญฺจาปิหํ ความว่า พระเถระเมื่อจะหนุนความเป็นคนแก่ และสรรเสริญพระโอวาท ด้วยมีประสงค์ว่า ทรงรู้ว่าเราเป็นคนแก่ก็จริง ถ้าเราเป็นคนแก่ ยังจักสามารถกระทำสมณธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด จึงได้กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อทิฏฺา อทิฏฺปุพฺพา ความว่า ไม่เห็นในอัตภาพนี้ แม้ในอัตภาพอันเป็นอดีตก็ไม่เคยเห็น. บทว่า น จ ปสฺสติ ความว่า แม้ในบัดนี้ ท่านก็ไม่เห็น. ด้วยบทว่า น จ เต โหนฺติ ปสฺเสยฺยํ ความว่า ทรงถามว่า แม้การรวบรวมใจอย่างนี้ ไม่มีแก่ท่านในที่ใด ฉันทะเป็นต้น พึงเกิดแก่ท่านในที่นั้นบ้างหรือ.

บทว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺตํ ความว่า รูปายตนะ ที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ก็จักเป็นสักว่าเห็น. จริงอยู่ จักขุวิญญาณย่อมเห็นสักว่ารูปในรูปเท่านั้น ย่อมไม่เห็นสภาวะว่าเที่ยงเป็นต้น. อธิบายว่า รูปายตนะนี้ จักเป็นสักว่าอันเราเห็นแล้ว แม้ด้วยวิญญาณที่เหลือเท่านั้น. อีกนัยหนึ่ง จักขุวิญญาณ ชื่อว่า เห็นแล้วในรูปที่เห็นแล้ว. อธิบายว่า ย่อมรู้แจ้งในรูป ว่าเป็นรูป. บทว่า มตฺตา แปลว่า ประมาณ. ธรรมชาติ ชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ เพราะสักว่าเห็น ได้แก่ จิต อธิบายว่า จิตของเรา จักเป็นเพียงจักขุวิญญาณ นั่นเอง. คำนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในรูปารมณ์ที่มาปรากฏ โดยประการใด ชวนจิต ก็จักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้น ในเพราะเว้นจากราคะเป็นต้น โดย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 160

ประการนั้น เราจักตั้งชวนจิต โดยสักว่าจักขุวิญญาณเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ชื่อว่า เห็นแล้ว (ทิฏฺํ) เพราะเห็นแล้ว ชื่อว่า สักว่าเห็น. จิต ๓ ดวง คือสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ และโวฏฐัพพนะ ที่เกิดขึ้นแล้วในเพราะการเห็นแล้วนั่นแหละ ก็ชื่อว่า ที่เห็นแล้ว สักแต่ว่าเห็น. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงซึ่งรูปนั้น ฉันใด เมื่อรูปมาสู่คลอง (จักขุทวาร) ก็ฉันนั้น เราจักให้ชวนจิตเกิดขึ้นโดยประมาณแห่งสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นนั้น นั่นเอง ปรากฏไม่ให้ก้าวล่วงประมาณนั้นของสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นนั้นไป. เราจักไม่ให้ชวนะเกิดขึ้นด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น. แม้ในคำว่า ได้ยินแล้ว (สุตํ) ทราบแล้ว (มุตํ) รู้สักว่ารู้ (วิญฺาเณ วิญฺาณมตฺตํ) ก็นัยเดียวกันนี้. อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนะรู้แล้ว ชื่อว่า เป็นอันรู้แล้ว (วิญฺาตํ) ในคำว่า วิญฺาเต วิญฺญาตมตฺตํ นี้ ชื่อว่า อาวัชชนะโดยประมาณ เพราะรู้แล้วก็สักว่ารู้แล้ว ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เราจักไม่ให้จิตเกิดขึ้นด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น แล้วตั้งจิตไว้โดยประมาณแห่งอาวัชชนะจิตเท่านั้น โดยประการที่ชวนะจักไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า น เตน ความว่า จักเป็นผู้ไม่กำหนัดด้วยราคะ ไม่ขัดเคืองด้วยโทสะ ไม่หลงด้วยโมหะนั้น. บทว่า ตโต ตฺวํ มาลุกฺยปุตฺต น ตตฺถ ความว่า ในกาลใด ท่านจักเป็นผู้ไม่ชื่อว่า กำหนัดด้วยราคะ ไม่ขัดเคืองด้วยโทสะ ไม่หลงด้วยโมหะ ในกาลนั้น ท่านจักเป็นผู้ไม่ชื่อว่า พัวพัน ติดอยู่ ตั้งอยู่ในรูปารมณ์ที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ในสัททารมณ์ที่โสตวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 161

ได้ยินแล้ว ในคันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่มโนวิญญาณรู้แจ้งแล้ว. บทว่า เนวิธ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สติ มุฏฺา ได้แก่ สติหายไปแล้ว. บทว่า ตญฺจ อชฺโฌสา ได้แก่ กลืนอารมณ์นั้น. บทว่า อภิชฺฌา จ วิเหสา จ ได้แก่ อภิชฌา ความเพ่งอยากได้ และ วิเหสา ความคิดเบียดเบียน. อีกอย่างหนึ่ง ๒ บทนั้น พึงประกอบเข้ากับบทว่า ตสฺส วฑฺฒนฺติ อธิบายว่า ธรรมทั้ง ๒ แม้นี้ คือ อภิชฌาและวิเหสา ย่อมเจริญแก่เขา.

บทว่า จิตฺตมสฺสูปหญฺติ ความว่า จิตของเขาย่อมถูกอภิชฌา และวิเหสา เข้ากำจัด. บทว่า อาจินโต แปลว่า สั่งสมอยู่. บทว่า อารา นิพฺพาน วุจฺจติ ความว่า ชื่อว่า นิพพานของบุคคลเห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ไกล. บทว่า ฆาตฺวา แปลว่า สูดแล้ว. บทว่า โภตฺวา ได้แก่ บริโภคแล้ว ลิ้มแล้ว เลียแล้ว บทว่า ผุสฺส แปลว่า ถูกต้องแล้ว (กระทบแล้ว).

บทว่า ปฏิสฺสโต ได้แก่ ประกอบด้วยสติ กล่าวคือ สติมั่นคง. บทว่า เสวโต จาปิ เวทนํ ได้แก่ เสพอยู่ซึ่งเวทนาอันเป็นโลกุตตระที่เกิดแล้ว อันสัมปยุตด้วยมรรค ๔. บทว่า ขิยฺยติ ได้แก่ ถึงความสิ้นไป. ข้อนั้นคืออะไร. คือทุกข์บ้าง กิเลสชาตบ้าง. บทว่า อญฺตโร ได้แก่ เป็นรูปหนึ่งในจำนวนพระอสีติมหาสาวก. ดังนั้น จึงตรัสเฉพาะวัฏฏะ และวิวัฏฏะเท่านั้น แม้ด้วยพระคาถาทั้งหลายในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒