๕. สังวรสูตร ว่าด้วยการสํารวมและไม่สํารวม
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 167
๕. สังวรสูตร
ว่าด้วยการสํารวมและไม่สํารวม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 167
๕. สังวรสูตร
ว่าด้วยการสำรวมและไม่สำรวม
[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรมีอย่างไร รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี สรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นความเสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นความเสื่อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวร มีด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 168
[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นความไม่เสื่อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวร มีด้วยประการฉะนี้
จบ สังวรสูตรที่ ๕
อรรถกถาสังวรสูตรที่ ๕
ในสังวรสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กถญฺจ ภิกฺขเว อสํวโร นี้ พึงทราบว่า มิได้ตรัสเฉพาะบุคคลผู้ชี้หนทาง แต่ตรัสด้วยอำนาจธรรมที่ควรละก่อน เพราะทรงเป็นผู้ฉลาดในวิธีเทศนา เหมือนบุคคลผู้ฉลาดในหนทางบอกทางที่ควรละก่อนว่า จงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา. ในพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสถามธรรมแล้ว ทรงจำแนกธรรม.
จบ อรรถกถาสังวรสูตรที่ ๕