พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฏิสัลลีนสูตร ว่าด้วยการอยู่ในที่สงัด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ก.ย. 2564
หมายเลข  37196
อ่าน  389

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 170

๗. ปฏิสัลลีนสูตร

ว่าด้วยการอยู่ในที่สงัด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 170

๗. ปฏิสัลลีนสูตร

ว่าด้วยการอยู่ในที่สงัด

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดย่อมรู้ตามความเป็นจริง. รู้อะไรตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ตามความเป็นจริง.

จบ ปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗

ในปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ กายวิเวก. จริงอยู่ พระองค์ทรงเห็นบุคคลผู้เสื่อมจากกายวิเวก ทรงทราบว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้กายวิเวก กรรมฐานจักต้องมีพี่เลี้ยงนางนมดังนี้แล้ว จึงตรัสพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗