พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สังโยชนสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ก.ย. 2564
หมายเลข  37219
อ่าน  362

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 222

๙. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 222

๙. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 223

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้นเป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเป็นตัวสังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น.

จบ สังโยชนสูตรที่ ๙