พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ภารทวาชสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ก.ย. 2564
หมายเลข  37224
อ่าน  481

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 230

๔. ภารทวาชสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 230

๔. ภารทวาชสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 231

พระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดาในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาวในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดาในสตรีปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ภิกษุเหล่านี้ยังเป็นหนุ่มวัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

[๑๙๖] อุ. ท่านภารทวาชะ จิตเป็นธรรมชาติโลเล บางคราวธรรม คือความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาวน้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณากายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 232

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

[๑๙๗] อุ. ท่านภารทวาชะ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอันอบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่านภารทวาชะ บางคราวเมื่อบุคคลตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็นของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดยความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาเถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เธอทั้งหลายเห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 233

โดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

[๑๙๘] อุ. น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะ น่าประหลาดจริง ท่านภารทวาชะ คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านภารทวาชะ ในสมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิตมิได้รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 234

ข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่านภารทวาชะ แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอันรักษาแล้ว มีวาจาอันรักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านไพเราะนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านไพเราะนัก ท่านภารทวาชะ ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น ท่านภารทวาชะ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด.

จบ ภารทวาชสูตรที่ ๔

อรรถกถาภารทวาชสูตรที่ ๔

ในภารทวาชสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภิกษุนั้น ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะบวชเสาะแสวงหาก้อนข้าว. ได้ยินว่า ท่านเป็นพราหมณ์ผู้สิ้นเนื้อประดาตัว. ทีนั้นเขาเห็นลาภและสักการะของภิกษุสงฆ์ จึงออกบวชเพื่อต้องการก้อนข้าว. ท่านถือเอาบาตรภาชนะขนาดใหญ่เที่ยวขอเขาไป. เพราะเหตุนั้น ท่านดื่มข้าวยาคูเต็มภาชนะ เคี้ยวกินขนมเต็มภาชนะ บริโภคข้าวเต็มภาชนะ. ลำดับนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 235

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลความที่ท่านฉันจุ แด่พระศาสดา. พระศาสดา ไม่ทรงอนุญาตถุงบาตรแก่ท่าน คว่ำบาตรวางไว้ใต้เตียง. ท่านแม้เมื่อจะวาง ก็ครูดวางส่งๆ ไป แม้เมื่อจะถือเอา ก็ครูดลากมาถือไว้. บาตรนั้นเมื่อกาลล่วงไปๆ กร่อนไปด้วยการถูกครูด รับของได้เพียงข้าวสุกทนานเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระศาสดา. ต่อมา พระศาสดาทรงอนุญาตถุงบาตรแก่ท่าน. สมัยต่อมา พระเถระเจริญอินทรีย์ภาวนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ. ดังนั้น ท่านจึงชื่อ ปิณโฑละ เพราะบวชเพื่อต้องการก้อนข้าว แต่โดยโคตรชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้น รวมชื่อทั้งสองเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า ปิณโฑลภารัทวาชะ ดังนี้.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า อันมหาอำมาตย์ ผู้มีชื่อเสียงกำจรกำจาย แวดล้อมเข้าไปหา ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เสร็จภัตกิจแล้ว คิดว่าในฤดูร้อน จักนั่งพักกลางวันในที่เย็นๆ จึงเหาะเที่ยวไปในพระราชอุทยาน ชื่อว่า อุทกัฏฐาน ของพระเจ้าอุเทน ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา นั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ถูกลมผสมน้ำที่เย็นโชยมา.

ฝ่ายพระเจ้าอุเทน ทรงดื่มมหาปานะ (สุรา?) ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ทรงรับสั่งให้ตกแต่งพระราชอุทยาน มีชนกลุ่มใหญ่แวดล้อม เสด็จไปพระราชอุทยาน ทรงบรรทมบนพระแท่นบรรทมที่ลาดไว้ใต้ต้นไม้แห่งหนึ่ง บนหลังแผ่นหินอันเป็นมงคล. บาทปริจาริกานางบำเรอคนหนึ่งของพระองค์ นั่งนวดฟั้นพระบาทอยู่. พระราชาเสด็จสู่นิทรารมณ์ด้วย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 236

การนวดฟั้น. เมื่อบรรทมหลับ เหล่าหญิงร้องรำทั้งหลายคิดว่า เราบรรเลงเพลงขับกล่อมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์ก็บรรทมหลับแล้ว ในเวลาพระองค์บรรทมหลับ ควรเราจะทำความหรรษากัน. จึงวางเครื่องดนตรีของตนๆ เข้าไปยังอุทยาน. หญิงเหล่านั้น เที่ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ ประดับดอกไม้อยู่ เห็นพระเถระ ต่างห้ามกันและกันว่า อย่าทำเสียงเอ็ดไป แล้วนั่งลงไหว้. พระเถระแสดงธรรมกถาแก่หญิงเหล่านั้น โดยนัยว่า พวกเธอพึงละความริษยา พึงบรรเทาความตระหนี่เป็นต้น หญิงบาทปริจาริกาผู้นั่งนวดฟั้นพระบาทของพระราชานั้นอยู่ ก็เขย่าพระบาทปลุกพระราชา พระราชาตรัสถามว่า หญิงเหล่านั้นไปไหน. หญิงนั้นทูลว่า พระองค์จะมีพระราชประสงค์อะไรด้วยหญิงเหล่านั้น หญิงร้องรำเหล่านั้นนั่งล้อมพระสมณะองค์หนึ่ง. พระราชาทรงพระพิโรธ เหมือนเกลือใส่เตาไฟ กระทืบพระบาท ทรงพระดำริว่า เราจะให้มดแดงกัดสมณะนั้น จึงเสด็จไป เห็นรังมดแดงบนต้นอโสก ทรงเอาพระหัตถ์กระชากลงมา แต่ไม่อาจจับกิ่งไม้ได้ รังมดแดงขาดตกลงบนพระเศียรพระราชา. ทั้งพระวรกายได้เป็นเสมือนเกลื่อนไปด้วยแกลบข้าวสาลี และเป็นเสมือนถูกประทีปด้ามเผาเอา. พระเถระทราบว่าพระราชากริ้ว จึงเหาะไปด้วยฤทธิ์. หญิงแม้เหล่านั้น ลุกขึ้นไปใกล้ๆ พระราชา ทำทีเช็ดพระวรกาย จับมดแดงที่ตกลงๆ ที่ภาคพื้น โยนไปบนที่พระวรกาย และเอาหอก คือปาก แทงมดดำมดแดงเหล่านั้นว่า นี้อะไรกัน พระราชาเหล่าอื่น เห็นบรรพชิตทั้งหลายแล้วไหว้ แต่พระราชาพระองค์นี้ ทรงประสงค์จะทำลายมดแดงบนศีรษะ. พระราชา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 237

ทรงเห็นความผิด จึงรับสั่งให้เรียกคนเฝ้าสวนมาตรัสถามว่า บรรพชิตนี้ แม้ในวันอื่นๆ มาในที่หรือ. คนเฝ้าพระราชอุทยานกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ในวันที่ท่านมาในที่นี้เจ้าพึงบอกเรา. ๒ - ๓ วัน เท่านั้น แม้พระเถระก็มานั่งที่โคนไม้. คนเฝ้าพระราชอุทยานเห็นเข้า คิดว่า นี้เป็นบรรณาการใหญ่ของเรา จึงรีบไปกราบทูลพระราชา. พระราชาเสด็จลุกขึ้น ทรงห้ามเสียงสังข์และบัณเฑาะว์เป็นต้น ได้เสด็จไปยังพระราชอุทยานพร้อมด้วยอำมาตย์ผู้มีชื่อเสียงกำจรกำจาย. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อุปสงฺกมิตฺวา.

บทว่า อนิกีฬิตาวิโน กาเมสุ ความว่า ความเล่นสำเริงใดในกามทั้งหลาย ผู้มีระดูมิได้สำเริงนั้น อธิบายว่า ไม่ประสงค์บริโภคกาม. บทว่า อทฺธานญฺจ อาปาเทนฺติ ความว่า ถือประเพณี ประพฤติตามประเพณีมานาน. บทว่า มาตุมตฺตีสุ แปลว่า ปูนมารดา จริงอยู่ คำทั้งหลายนี้ คือมารดา พี่สาว ลูกสาว เป็นอารมณ์หนักในโลก. พระเถระเมื่อแสดงว่าบุคคลชำระจิตที่ผูกพันด้วยอารมณ์อันหนักไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระเถระเห็นจิตของท้าวเธอไม่ทรงหยั่งลงโดยสัญญานั้น จึงกล่าวกัมมัฏฐาน คืออาการ ๓๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อผูกจิตไว้ด้วยอำนาจมนสิการปฏิกูลสัญญา (ใส่ใจด้วยสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล).

บทว่า อภาวิตกายา ได้แก่ ผู้มีกายอันเป็นไปในทวาร ๕ ยังมิได้อบรม. บทว่า เตสํ ตํ ทุกฺกรํ โหติ ความว่า อสุภกรรมฐาน ของผู้ที่ไม่ได้อบรมกายเหล่านั้น เป็นของทำได้ยาก. พระเถระ เมื่อเห็นจิตของท้าวเธอที่ไม่หยั่งลงด้วยกรรมฐานแล้วนี้ จึงแสดง อินทรียสังวรศีล

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 238

แก่ท้าวเธอ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ พระเจ้าอุเทนย่อมยังชำระจิตที่เข้าไปผูกไว้ในอินทรีย์สังวรไม่ได้. พระเจ้าอุเทนทรงสดับข้อนั้น เป็นผู้มีจิตหยั่งลงในกรรมฐานนั้น.จึงตรัสคำมีอาทิว่า อจฺฉริยํ โภ ภารทฺวาช ท่านภารทวาชะ อัศจรรย์จริง.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้น ดังต่อไปนี้ เมื่อคนองมือคนองเท้า เอี้ยวคอไปมา ชื่อว่า ไม่รักษากาย. เมื่อกล่าวคำชั่วหยาบมีประการต่างๆ ชื่อว่า ไม่รักษาอาจาระ. เมื่อตรึกถึงกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า ไม่รักษาจิต. พึงทราบความโดยปริยายดังกล่าวแล้ว ในคำว่า รกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้น

บทว่า อติวิย มํ ตสฺมิํ สมเย โลภธมฺมา ปริสหนฺติ ความว่า ในสมัยนั้น ความโลภย่อมละเมิดครอบงำข้าพเจ้า บทว่า อุปฏฺิตาย สติยา ได้แก่ มีกายคตาสติ สติอันไปแล้วในกายตั้งมั่นแล้ว. บทว่า น มํ ตถา ตสฺมิํ สมเย ความว่า ความโลภย่อมละเมิดเรา เกิดขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน. บทว่า ปริสหนฺติ ความว่า ย่อมเกิดนั่นแล. ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวกาย ๓ ไว้ในพระสูตรนี้. จริงอยู่ในคำว่า อิมเมว กายํ นี้ ท่านกล่าวถึง กรัชกาย. ในคำว่า ภาวิตกาโย นี้ กล่าวถึง กายที่เป็นไปในทวาร ๕. ในคำว่า รกฺขิเตเนว กาเยน นี้ ได้แก่ โจปนกาย กายไหวกาย อธิบายว่า กายวิญญัติ ทำให้เขารู้ด้วยกาย.

จบ อรรถกถาภารทวาชสูตรที่ ๔