พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อินทริยสูตร ว่าด้วยเรื่องอินทรีย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ก.ย. 2564
หมายเลข  37252
อ่าน  350

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 289

๙. อินทริยสูตร

ว่าด้วยเรื่องอินทรีย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 289

๙. อินทริยสูตร

ว่าด้วยเรื่องอินทรีย์

[๒๔๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าว่าภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจักขุนทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 290

ความเสื่อมในมนินทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

จบ อินทริยสูตรที่ ๙

อรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๙

ในอินทริยสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อินฺทฺริยสมฺปนฺโน ได้แก่ ภิกษุผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์. ในคำนั้น ภิกษุใดพิจารณาอินทรีย์ ๖ แล้วบรรลุพระอรหัต ภิกษุนั้นชื่อว่า มีอินทรีย์สมบูรณ์ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ เพราะประกอบด้วยอินทรีย์ที่ขาวสะอาดหมดพยศ หรือเพราะประกอบด้วยอินทรีย์ มีศรัทธาเป็นต้น ที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาภิกษุผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์นั้น จึงทรงทำเทศนาให้พิสดารแก่ภิกษุนั้น โดยนัยมีอาทิว่า จกฺขุนฺทฺริเย จ ดังนี้ แล้วตรัสว่า เอตฺตาวตา โข ภิกฺขุ อินฺทฺรียสมฺปนฺโน ภิกษุที่ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

จบ อรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๙