๑๐. ธรรมกถิกสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นธรรมกถึก
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 291
๑๐. ธรรมกถิกสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นธรรมกถึก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 291
๑๐. ธรรมกถิกสูตร
ว่าด้วย เหตุที่เรียกว่าเป็นธรรมกถึก
[๒๔๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึกๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเป็นผู้หลุดพ้น เพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ ภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
จบ ธรรมกถิกสูตรที่ ๑๐
จบ นวปุราณวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 292
อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๑๐ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.
จบ นวปุราณวรรคที่ ๕
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กรรมสูตร ๒. ปฐมสัปปายสูตร ๓. ทุติยสัปปายสูตร ๔. ตติยสัปปายสูตร ๕ จตุตถสัปปายสูตร ๖. อนันเตวาสิกานาจริยสูตร ๗. ติตถิยสูตร ๘. ปริยายสูตร ๙. อินทรียสูตร ๑๐. ธรรมกถิกสูตร.
รวมวรรคในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
๑. โยคักเขมิวรรค ๒.โลกกามคุณวรรค ๓. คหปติวรรค ๔. เทวทหวรรค ๕. นวปุราณวรรค.
จบ ตติยปัณณาสก์