พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ก.ย. 2564
หมายเลข  37262
อ่าน  499

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 301

๙. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 301

๙. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๒๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ ก็สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูก่อนโกฏฐิกะ จักษุแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 302

นั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา ฯลฯ จมูกเป็นอนัตตา ฯลฯ ลิ้นเป็นอนัตตา ฯลฯ กายเป็นอนัตตา ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยมหาโกฏฐิกสูตรที่ ๙

อรรถกถามหาโกฏฐิกสูตรที่ ๗ - ๙

ใน ๓ สูตรมีสูตรที่ ๗ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติของพระเถระ.

จบ อรรถกถามหาโกฏฐิกสูตรที่ ๗ - ๙