พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ก.ย. 2564
หมายเลข  37263
อ่าน  402

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 303

๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 303

๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร (๑)

ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ

[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู รู้เห็นจมูก รู้เห็นลิ้น รู้เห็นกาย รู้เห็นใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้.

จบ มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐


(๑) อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ - ๑๒ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๑๒