พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  12 ก.ย. 2564
หมายเลข  37265
อ่าน  392

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 305

๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 305

๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ

[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้. พระผู้มีพระเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู รู้เห็นจมูก รู้เห็นลิ้น รู้เห็นกาย รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้.

จบ อัตตานุทิฏฐิสูตรที่ ๑๒

นันทิขยวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 306

อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ - ๑๒

๓ สูตรมีสูตรที่ ๑๐ เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยบุคคลแผนกหนึ่งต่างหาก. เนื้อความแห่งสูตรเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว แล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ - ๑๒

จบ นันทิขยวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมนันทิขยสูตร ๒.ทุติยนันทิขยสูตร ๓. ตติยนันทิขยสูตร ๔. จตุตถนันทิขยสูตร ๕. ปฐมชีวกัมพวนสูตร ๖. ทุติยชีวกัมพวนสูตร ๗. ปฐมมหาโกฏฐิกสูตร ๘. ทุติยมหาโกฏฐิกสูตร ๙. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๑๑. สักกายทิฏฐิสูตร ๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร.