พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โกฏฐิกสูตร ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ย. 2564
หมายเลข  37338
อ่าน  404

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 348

๕. โกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 348

๕. โกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ

[๒๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ท่านพระสารีบุตร จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ หูเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 349

เครื่องผูกของหู จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจมูก ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของลิ้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกาย ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ หรือ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโกฏฐิกะ จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น หูเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของหูหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกหูและเสียงนั้น จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจมูกหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจมูกและกลิ่นนั้น ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของลิ้นหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรสทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกลิ้นและรสนั้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกายหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกกายและโผฏฐัพพะนั้น ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 350

[๒๙๖] ท่านโกฏฐิกะ โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าว หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.

ก. ท่านพระสารีบุตร ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้นเขาผูกติดด้วยสายคร่าว หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว หรือเชือกนั้น เป็นเครื่องผูกโคทั้งสองนั้นให้ติดกัน.

สา. ข้อนั้นฉันใด ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

[๒๙๗] ท่านโกฏฐิกะ จักษุจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป หรือ รูปจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความพ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะจักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น เพราะฉะนั้นการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 351

สิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ฯลฯ ใจจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์จักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น เพราะฉะนั้นการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

[๒๙๘] ท่านโกฏฐิกะ จักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว โสตของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ยังทรงฟังเสียงด้วยโสต แต่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฆานะของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงสูดกลิ่นด้วยฆานะ แต่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ชิวหาของพระ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 352

ผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา แต่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว กายของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มนัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมนัส แต่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

จบ โกฏฐิกสูตรที่ ๕

อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ ๕

ในโกฏฐิกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตทุภยํ ตัดเป็น ตํ อุภยํ แปลว่า สูตรทั้ง ๒ นั้น.

จบ อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ ๕