พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. กามภูสูตร ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ย. 2564
หมายเลข  37339
อ่าน  550

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 353

๖. กามภูสูตร

ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 353

๖. กามภูสูตร

ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ

[๒๙๙] สมัยหนึ่ง พระท่านอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจากที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ หรือ.

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านพระกามภู จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น ท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าว หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 354

กา. ท่านพระอานนท์ ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคคำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าว หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว หรือเชือกเส้นเดียวกันนั้น เป็นเครื่องผูกโคทั้งสองนั้นให้ติดกันฉันใด.

อา. ท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องผูกใจและอารมณ์นั้น.

จบ กามภูสูตรที่ ๖

อรรถกถากามภูสูตรที่ ๖

กามภูสูตรที่ ๖ ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถากามสูตรที่ ๖