พินิจ พิจารณา รู้ และรู้ชัด เป็นเจตสิกอะไรครับ?

 
JYS
วันที่  17 ก.ย. 2564
หมายเลข  37353
อ่าน  432

เช่นในมหาสติปัฏฐานสูตรและกายคตาสติสูตร ผมทราบอยู่ว่าไม่ใช่อัตตาอย่างแน่นอน ไม่ใช่เราที่ไปทำ แต่ก็อยากทราบว่า พินิจ พิจารณา รู้และรู้ชัด เหล่านี้เป็นเจตสิกอะไร เป็นเจตสิกประเภทใด

เวลาผมอ่านพระไตรปิฎก ศึกษาพระไตรปิฎกก็เข้าใจว่าก็คงไม่พ้น โยนิโสมนสิการเจตสิก กุศลวิตกเจตสิก กุศลวิจารเจตสิก สติเจตสิก ปัญญาเจตสิก เป็นต้น

ก็เลยสงสัยว่าน่าจะมีเจตสิกเฉพาะหรือเปล่าครับ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ก.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไตร่ตรอง หรือ ใคร่ครวญ ก็คือ การคิดนึก ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก ดังนั้นการไตร่ตรองต้องเป้นเรื่องของปัญญาความเข้าใจถูก จึงเป็นการไตร่ตรองตามพระธรรมที่ถูกต้อง

ความคิดนึก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนามธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ หมายถึงว่า เมื่อความคิดเกิดขึ้น จะต้องรู้อะไรบางอย่าง นั่นคือขณะที่มีความคิดนึกเกิดขึ้น จะต้องมีสิ่งที่ถูกคิด สิ่งที่ถูกคิด เรียกว่า อารมณ์ เพราะฉะนั้น ความคิดนึกจึงเป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ ซึ่งความคิดนึก ก็ไม่พ้นจากนามธรรม คือ จิตเจตสิก อาศัยจิตที่เป็นใหญ่ในการรู้ ก็ทำให้มีการคิดนึก เพราะอาศัยจิต และอีกนัยหนึ่ง วิตกเจตสิกก็ทำหน้าที่ ตรึกนึกคิดได้ ครับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับว่า วิตกเจตสิก ที่เป็นสภาพธรรมที่ตรึก นึกคิด และอาศัยจิตด้วยนั้น ท่านเปรียบเหมือนเท้าของโลก คือ ก้าวไปทุกที่ ทุกเวลาได้ คิดเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว และ จิต เมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมคิดนึก ไปในเรื่องราวต่างๆ ตามความทรงจำไว้ ที่เคยจำไว้ จำไว้ในเรื่องอะไร ก็คิดไปในเรื่องนั้น เพียงแต่ว่าจะคิดด้วยกุศล หรืออกุศล ซึ่งเพราะอาศัยกิเลสเป็นปัจจัย ก็ทำให้คิดไปในเรื่องราวต่างๆ ที่อยู่รอบตัว และคิดเรื่องตนเองก็ได้ แต่คิดด้วยจิตที่เป็นอกุศล ด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะอาศัยเหตุ คือ กิเลสเป็นสำคัญ ครับ

ดังนั้น ความคิดแต่ละคนก็แต่ละหนึ่งเป็นไปตามการสะสม เมื่อเข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรม ก็เข้าใจถูก ไม่ติเตียนด้วยอกุศล แต่กล่าวเตือนด้วยเมตตาได้ ในสิ่งที่สมควร และ บุคคลนั้นด้วยว่ารับฟังหรือไม่ครับ

ซึ่งกระบวนการ การเกิดการคิดนึก ก็อาศัยการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก ทางมโนทวารวิถี ที่นึกคิดเป็นไปในเรื่องราวต่างๆ ตามความทรงจำ สัญญาที่จำไว้ โดยมี วิตกเจตสิกทำหน้าที่ตรึก นึกถึง ครับ

ซึ่งตามที่กล่าวแล้ว จิตและเจตสิก ทำหน้าที่คิด แต่การคิดก็ต้องเจตสิกเกิดร่วมด้วยคือ เจตสิกที่ดีเช่น ศรัทธา สติ เป็นต้น หรือ มีเจตสิกที่ไม่ดี มี โลภะ โทสะ เป็นต้นเพราะฉะนั้น การคิด ก็คิดด้วย กุศล คือ เป็นกุศลจิตที่คิดด้วยกุศลนั่นเอง เพราะมีเจตสิกที่ดีเกิดร่วมด้วยกับจิตที่คิด และบางครั้งก็คิดด้วยอกุศล คือ อกุศลจิตที่คิดเช่น คิดโกรธ คิด พยาบาท คิดชอบ ติดข้อง อันมีเจตสิกที่ไม่ดี เกิดร่วมด้วย คือ โลภะ โทสะครับ นี่ก็คือ คิดด้วย อกุศล ครับ

ซึ่งโดยมาก สัตว์โลกก็คิดด้วยกุศล อกุศลโดยมาก แต่การคิดที่ดี จะมีได้ ก็ด้วยการฟัง ศึกษาพระธรรม อันเกิดจากความเห็นถูก คือ ปัญญา เป็นปัจจัย เพราะมีความเห็นถูก ความคิดก็ถูกต้องตามความเป็นจริง และ ความคิดที่ประเสริฐสูงสุดที่จะเป็นหนทางการละกิเลสแท้จริง คือ การคิดถูกที่เข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

รู้ชัดคือรู้ที่ตัวจริงของธรรม

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JYS
วันที่ 19 ก.ย. 2564

ขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ