พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ทุติยทารุขันธสูตร ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์กับท่อนไม้ลอยน้ํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ก.ย. 2564
หมายเลข  37375
อ่าน  438

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 430

๕. ทุติยทารุขันธสูตร

ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์กับท่อนไม้ลอยน้ำ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 430

๕. ทุติยทารุขันธสูตร

ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์กับท่อนไม้ลอยน้ำ

[๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมืองกิมมิละ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่อนซุงใหญ่ท่อนหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 431

ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นหรือไม่ ซุงท่อนใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร. ฯลฯ ดูก่อนกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นเน่าในภายใน.

จบ ทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕

อรรถกถาทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕

ในทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กิมฺมิลายํ ได้แก่ ในพระนครมีชื่อว่า กิมมิละ. บทว่า สํกิลิฏฺํ ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่ปิดไว้ อาบัติที่ชื่อว่าไม่เศร้าหมองย่อมไม่มี. อาบัติที่เศร้าหมองเห็นปานนั้น.

บทว่า วุฏฺานํ ทิสฺสติ ได้แก่ การออกจากอาบัติด้วยปริวาส มานัต และอัพภาน ย่อมปรากฏแล.

จบ อรรถกถาทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕