พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อวัสสุตสูตร ว่าด้วยอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ก.ย. 2564
หมายเลข  37376
อ่าน  507

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 432

๖. อวัสสุตสูตร

ว่าด้วยอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 432

๖. อวัสสุตสูตร

ว่าด้วยอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยาย

[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกชนบท ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลายอยู่ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ได้รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็นสถานที่อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็นสถานที่อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงใช้สัณฐาคารนั้นก่อน สัณฐาคารนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้ก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ จักทรงใช้ในภายหลัง การทรงใช้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พึงมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงทราบการรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ รับสั่งให้ลาดสัณฐาคารที่บุคคลลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว รับสั่งให้ตั้งแก้วน้ำไว้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 433

ประจำ แล้วรับสั่งให้ตามประทีปน้ำมันขึ้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัณฐาคารอันบุคคลปูลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว ตั้งแก้วน้ำประจำไว้แล้ว ตามประทีปน้ำมันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงสำคัญกาลที่จะเสด็จเข้าไป.

[๓๒๗] ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่เบื้องหน้า แม้เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วประทับนั่งพิงฝาด้านหน้าทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่เบื้องหน้าอย่างเดียวกัน ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาหลายราตรี แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนท่านผู้โคตมโคตรทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลที่จะเสด็จไปเถิด เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จไป.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 434

[๓๒๘] ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอุฏฐานสัญญา ในลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับต่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกามอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 435

มีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

[๓๒๙] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้นมีปรกติอยู่อย่างนั้นทางใจ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ดูก่อนอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอกกาลฝน ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นทางทิศบูรพา ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นทางทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่า บุรุษนั้นมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุ ฉันนั้น.

[๓๓๐] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ภิกษุไม่ครอบงำรูป เสียงครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่นครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 436

รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำ ไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล.

[๓๓๑] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกามอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้ กุฏาคารศาลาในทิศบูรพา ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดิน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 437

ทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารศาลานั้นในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทัศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารนั้นแต่ที่ใดที่หนึ่ง ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฉันนั้น ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำโผฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เธอครอบงำอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิตอวัสสุตปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย ดีแล้วๆ. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิต ของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล.

จบ อวัสสุตสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 438

อรรถกถาอวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖

ในอวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นวํ สณฺาคารํ ความว่า สัณฐาคารที่เขาสร้างขึ้นไม่นานเสร็จใหม่ๆ. อธิบายว่า ศาลาใหญ่หลังหนึ่ง. ในเวลาจัดกระบวนเสด็จเป็นต้น เจ้าทั้งหลายประทับยืนอยู่ในที่นั้น กระทำทุกอย่าง จัดแถวกระบวนอย่างนี้ว่า พวกเจ้าเท่านี้ ไปข้างหน้า ไปข้างหลัง เท่านี้ไปทั้งสองข้าง เท่านี้ขึ้นช้าง เท่านี้ขึ้นม้า เท่านี้ยืนอยู่ในรถ. เพราะฉะนั้น ที่นั้น ท่านจึงเรียกว่า สัณฐาคาร. ก็เจ้าเหล่านั้นมาจากกระบวนเสด็จ ย่อมพักอาศัยในที่นั้น สิ้น ๒ - ๓ วัน ตลอดเวลาที่ชนทั้งหลายพากันกระทำการโบก (คือฉาบทา) โคมัยสดเป็นต้นในเรือนทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัณฐาคาร ดังนี้ก็มี. อาคารพร้อมทั้งเป็นที่ว่าราชการของพวกเจ้าเหล่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัณฐาคาร. แต่เจ้าเหล่านั้น เป็นคณะเจ้า เพราะฉะนั้น กิจที่เกิดขึ้นย่อมเด็ดขาด ด้วยอำนาจเจ้าบางพระองค์ได้แม้ฉันทะ (จากที่ประชุม) ของเจ้าทุกพระองค์ก็ควร. เพราะฉะนั้น เจ้าทุกพระองค์จึงประชุมกันว่าราชการในที่นั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า สห อตฺถานุสาสนํ อคารนฺติปิ สณฺาคารํ ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่เจ้าเหล่านั้น ประชุมกันในที่นั้นแล้วปรึกษากิจในการอยู่ครองเรือน โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ควรจะไถในเวลานี้ ควรจะหว่านในเวลานี้ เพราะฉะนั้น เจ้าเหล่านั้น ย่อมปิดกั้นการครองเรือนอันมีข้อบกพร่องในที่นั้น เพราะเหตุแม้นั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า สัณฐาคาร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 439

บทว่า อจิรการิตํ โหติ ความว่า ให้สำเร็จโดยไม่นานเหมือนเทพพิมานที่จัดตระเตรียมไว้ด้วยดี ด้วยอำนาจงานมีการก่ออิฐ งานฉาบทาปูนขาว และงานวิจิตรกรรมเป็นต้น. ในบทว่า สมเณน วา นี้ เพราะเหตุที่ในเวลากำหนดเอาพื้นที่สร้างเรือนนั้นแล เทวดาทั้งหลายถือเอาเป็นสถานที่อยู่ของตน ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า เทเวน วา แล้วกล่าวว่า สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เกนจิ วา มนุสฺสภูเตน ดังนี้.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ ความว่า เจ้าศากยทั้งหลายสดับว่า สัณฐาคารสำเร็จแล้ว ดำริว่าจะไปดูสัณฐาคารนั้น จึงไปตรวจดูทั้งหมด ตั้งแต่ซุ้มประตู คิดว่าสัณฐาคารนี้ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง มีสิริมิ่งขวัญ ใครใช้สอยก่อนพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่พวกเราตลอดกาลนาน จึงตกลงกันว่า แม้เมื่อเราถวายครั้งแรกแก่ญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา ก็ควรแก่พระศาสดา แม้เมื่อถวายด้วยอำนาจเป็นทักขิเณยยบุคคล ก็สมแก่พระศาสดาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจักให้พระศาสดาทรงใช้สอยก่อน จักนิมนต์ภิกษุสงฆ์มา เมื่อภิกษุสงฆ์มาแล้ว พระพุทธพจน์ คือปิฎก ๓ ก็จักเป็นอันมาด้วย จักให้พระศาสดาแสดงธรรมกถาแก่พวกเรา ตลอดยาม ๓ แห่งราตรี ดังนั้น สัณฐาคารนี้ พระรัตนตรัยก็ใช้สอยแล้ว พวกเราจักใช้สอยในภายหลัง อย่างนี้ ก็จักเป็นประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่พวกเราตลอดกาลนาน ดังนี้ แล้วจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า เยน นวํ สณฺาคารํ เตนุปสงฺกมิํสุ ความว่า ได้ยินว่า วันนั้นสัณฐานคารเป็นอันจัดด้วยดี ทะนุถนอมด้วยดี เหมือนเทพพิมาน เพื่อเป็นที่ทอดทัศนาสำหรับของราชตระกูลก็จริง ถึงอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 440

ก็ชื่อว่า ไม่ตกแต่งให้สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีอัธยาศัยชอบป่า มีป่าเป็นที่รื่นรมย์ พึงอยู่ในบ้าน หรือไม่อยู่ก็ตาม เพราะฉะนั้น พวกเจ้าศากยะจึงดำริว่า พวกเราพอรู้พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงจักตกแต่งดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุนั้น. ก็บัดนี้ เจ้าทั้งหลายประสงค์จะเอาใจแล้วตกแต่ง จึงเข้าไปยังสัณฐนคาร.

บทว่า สพฺพสนฺถรํ สณฺาคารํ สนฺถริตฺวา ความว่า เจ้าศากยะทั้งหลาย สั่งให้ลาดโดยประการที่ลาดสัณฐาคารทั้งหมด ก่อนเขาทั้งหมด ให้เอาโคมัยสดขัดพื้น แม้ที่เขาโบกด้วยปูนขาวด้วยคิดว่า ธรรมดาว่าโคมัย ย่อมควรในพรานมงคลทั้งปวง ครั้นรู้ว่าแห้งดีแล้ว จึงฉาบทาด้วยของหอม ๔ ชนิด โดยที่รอยเท้าจะปรากฏทรงที่เหยียบ จึงลาดเสื่อรำแพนมีสีต่างๆ ไว้ข้างบน แล้วให้ลาดโอกาสทั้งหมดที่ควรจะต้องลาดด้วยเครื่องลาดมีสีต่างๆ มีลายช้าง ลายม้า ลายสีหะ ลายเสือโคร่ง ลายอันประกอบด้วยสิริ และลายอันวิจิตรเป็นต้น ตั้งต้นแต่ผ้าโกเชาว์มีหลังใหญ่ ไว้ข้างบนเสื่อลำแพนเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสนฺถรํ สณฺาคารํ สนฺถริตฺวา ดังนี้.

บทว่า อาสนานิ ปญฺาเปตฺวา ความว่า ปูพุทธอาสน์ที่สมควรอย่างใหญ่ พิงเสามงคล ที่ตรงกลางลาดปัจจถรณ์ที่นอน ที่อ่อนนุ่ม และที่รื่นรมย์ไว้ในที่นั้นๆ วางหมอนแดงทั้ง ๒ ข้าง เห็นเป็นที่ฟูใจ ดาดเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทองและดาวเงินไว้ข้างบน ประดับด้วยพวงของหอม พวงดอกไม้และพวงผ้าเป็นต้น โดยรอบให้ทำข่ายดอกไม้ประมาณ ๑๒

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 441

ศอก ให้ล้อมที่ประมาณ ๓๐ ศอกด้วยม่านดอกไม้ แล้วตกแต่งตั่งแท่น ตั่งพนักอิง และตั่งโล้นสำหรับภิกษุสงฆ์พิงฝาด้านหลัง ให้ลาดด้วยเครื่องลาดขาวไว้ข้างบน ให้ปูผ้าโกเชาว์มีหลังใหญ่สำหรับตน พิงฝาด้านทิศตะวันออก ให้วางหมอนยัดด้วยขนหงษ์เป็นต้น อาสนานิ ปญฺาเปตฺวา ท่านกล่าวหมายเอาความดำรินี้ว่า พวกเราไม่ลำบากอยู่อย่างนี้ จึงจักฟังธรรมได้ตลอดคืนยังรุ่ง.

บทว่า อุทกมณิกํ ได้แก่ ให้ตั้งตุ่มน้ำขนาดใหญ่ไว้ เจ้าศากยทั้งหลายคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ จักล้างมือ หรือเท้า หรือจักบ้วนปาก ได้ตามชอบใจ จึงบรรจุน้ำสีแก้วมณีให้เต็ม ใส่ดอกไม้ต่างๆ เพื่ออบและจุณอบ ให้ปิดไว้ด้วยใบกล้วยตั้งไว้ในที่นั้นๆ ท่านหมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ปติฏฺาเปตฺวา

บทว่า เตลปฺปทีปํ อาโรเปตฺวา ความว่าตามประทีปน้ำมันในด้ามที่ทำด้วยเงินและทองเป็นต้น และในภาชนะที่ทำด้วยทองและเงินเป็นต้น ที่วางไว้ในมือของรูปชาวโยนกและรูปคนป่าเป็นต้น.

ก็ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิํสุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. เจ้าศากยะเหล่านั้นจะให้ตกแต่งสัณฐาคารอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้ ให้ปัดกวาดแม้ถนนของนครกรุงกบิลพัสดุ์ ในทางโยชน์หนึ่งให้ยกธง ให้ตั้งต้นกล้วยและหม้อเต็มน้ำไว้ที่ประตูเรือน กระทำนครทั้งสิ้นให้เป็นราวกะว่า มีดวงดาวเกลื่อนกล่นด้วยประทีปและมาลาเป็นต้น ให้คนตีกลองร้องประกาศว่า พวกท่านจงให้เด็กเล็กๆ ที่ยังดื่มนมให้ดื่มนมเสีย ให้พวกเด็กรุ่นๆ รีบกินข้าวแล้วให้นอนเสีย อย่าทำเสียงเอ็ดอึง วันนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 442

พระศาสดาจักประทับในบ้านราตรีหนึ่ง ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงประสงค์แต่เงียบเสียง แล้วพากันถือเอาประทีปด้ามด้วยตนเอง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า อถโข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน นวํ สณฺาคารํ เตนุปสงฺกมิ ความว่า นัยว่าเมื่อเขากราบทูลเวลาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาอันสมควรแล้วขอเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจัดแจงผ้า ๒ ชั้น ที่ทรงย้อมแล้วด้วยน้ำครั่งสด มีสีดังดอกทองหลางแดงเหมือนตัดดอกปทุมด้วยกรรไกร ทรงนุ่งปิดมณฑล ๓ เหมือนวงกำดอกปทุมด้วยสังวาลย์ทอง ทรงคาดประคดเอวมีรัศมีดังสายฟ้าเหมือนเอาผ้ากัมพลแดงหุ้มยอดเงิน เหมือนใส่ข่ายแก้วประพาฬบนแท่งทองอันสูงได้ร้อยศอก เหมือนสรวมเสื้อผ้ากัมพลแดงที่เจดีย์ทอง เหมือนเอาเมฆแดงปิดพระจันทร์เพ็ญซึ่งกำลังโคจรอยู่ เหมือนรดน้ำครั่งแก่จัดลงเหนือยอดภูเขาทอง เหมือนวงยอดเขาจิตตกูฏด้วยสายฟ้า ทรงห่มผ้าบังสุกุลอันประเสริฐมีสีแดงเหมือนใบอ่อนของต้นไทรที่จับเขย่าแผ่นดินใหญ่ พร้อมทั้งเขาจักรวาล เขาสิเนรุและเขายุคันธร แล้วเสด็จออกจากประตูพระคันธกฎี ดุจสีหะออกจากถ้ำทอง และเหมือนพระจันทร์ออกจากยอดเขาด้านบูรพาทิศ ก็แลครั้นเสด็จออกแล้ว ก็ประทับยืนที่มุขแห่งพระคันธกฎี.

ลำดับนั้น รัศมีสร้านออกจากพระวรกายของพระองค์เหมือนกลุ่มสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆแล้วกระทำต้นไม้ในอารามให้เป็นราวกะว่า ใบ ดอก ผล และคาคบมีสีเหลืองแก่ที่รดด้วยสายน้ำทองฉะนั้น. ทันใด

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 443

นั่นเอง ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ถือบาตรและจีวรของตนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็เหล่าภิกษุผู้ยืนแวดล้อมเหล่านั้น ต่างเป็นผู้มีคุณธรรมเห็นปานนี้ คือมักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร มีวัตร อดทนต่อถ้อยคำ ผู้เตือนตนมีปกติติเตียนบาป ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงรุ่งเรืองยิ่งดั่งแท่งทองที่ใส่ในผ้ากัมพลแดง เหมือนเรือทองที่อยู่กลางท่ามกลางกลุ่มปทุมแดง และเหมือนปราสาททองที่วงด้วยไพรทีแก้วประพาฬ. ฝ่ายพระมหาเถระทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ห่มผ้าบังสุกุลมีสีดังเมฆ ราวกะว่างูใหญ่มีหนังดังแก้วมณี มีราคะอันคายเสียแล้ว มีกิเลสทำลายเสียแล้ว มีตัณหาดังชัฏอันสางเสียแล้ว มีกิเลสเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่ติดอยู่ในตระกูลหรือคณะแวดล้อมแล้ว.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศจากราคะเองแล้ว มีสาวกผู้ปราศจากราคะแล้วห้อมล้อม ทรงปราศจากโทสะ มีสาวกผู้ปราศจากโทสะห้อมล้อม ทรงปราศจากโมหะ มีสาวกผู้ปราศจากโมหะห้อมล้อมแล้ว ทรงปราศจากตัณหา มีสาวกผู้ปราศจากตัณหาห้อมล้อมแล้ว ทรงปราศจากกิเลส มีสาวกผู้ปราศจากกิเลสห้อมล้อมแล้ว เป็นพระพุทธะเอง มีพระพหูสูตพุทธะห้อมล้อมแล้ว เสด็จพระดำเนินไปสู่ทางที่จะนำไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ด้วยเพศของพระพุทธะอันหาผู้เสมอเหมือนมิได้ และด้วยความสง่างามของพระพุทธะอันหาประมาณมิได้ เหมือนเกษรดอกไม้ที่ใบล้อมไว้ เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เกษรล้อมไว้ เหมือนพระยาช้างฉัททันต์อันช้าง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 444

๘,๐๐๐ ล้อม เหมือนพระยาหงส์ธตรัฏฐ์ มีหงส์ ๙๐๐,๐๐๐ ห้อมล้อม เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ที่มีกองทัพห้อมล้อม เหมือนท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพห้อมล้อม เหมือนหาริตมหาพรหม อันหมู่พรหมห้อมล้อม เหมือนพระจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว. ลำดับนั้น รัศมีมีวรรณะดังทองคำพวยพุ่งออกจากพระวรกายส่วนเบื้องหน้าของพระพุทธองค์ จดเนื้อที่ประมาณ ๖๐ ศอก. พระรัศมีดังทองคำพวยพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง จากพระหัตถ์ขวา จากพระหัตถ์ซ้าย จดเนื้อที่ ๘๐ ศอก. รัศมีมีสีดังคอนกยูงพวยพุ่งออกจากเกลียวพระเกษาทั้งหมด จำเดิมแต่ปลายผมเบื้องบนไปจดที่ประมาณ ๘๐ ศอก ในท้องฟ้า. รัศมีมีวรรณะดังแก้วประพาฬพวยพุ่งออกจากพื้นพระบาทเบื้องล่าง จดแผ่นดินทึบเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก. พระพุทธรัศมี มีวรรณะ ๖ โชติช่วง ไหวไปมาอยู่ตลอดเนื้อที่ ๘๐ ศอก โดยรอบด้วยอาการอย่างนี้ แล่นแปลบปลาบไปเหมือนเปลวไฟที่แลบออกจากประทีปด้ามที่ทำด้วยทองคำพุ่งไปสู่อากาศ และเหมือนสายฟ้าที่แลบออกจากมหาเมฆที่ตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทวีป พุทธรัศมีนั้นแล สว่างไสวไปทั่วทิศาภาค ประหนึ่งว่าโปรยด้วยดอกจำปาทอง ราวกะว่ารดด้วยสายน้ำทองที่ไหลออกจากหม้อทองคำ ราวกะว่าวงไว้ด้วยแผ่นผ้าทองคำที่คลี่แล้ว ราวกะว่าเกลื่อนกลาดไปด้วยละอองดอกทองกวาวและดอกกรรณิการ์ที่ลมเวรัมภาพัดขึ้น.

พระสรีระที่มีพระรัศมีแห่งพระอนุพยัญชนะ ๘๐ และรุ่งเรืองด้วยพระวรลักษณะ ๓๒ ประการ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็รุ่งโรจน์เหมือนท้องฟ้ามีหมู่ดาวระยิบระยับ เหมือนป่าดอกปทุมที่บานแล้ว เหมือนต้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 445

ปาริฉัตตกะสูงร้อยโยชน์มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น ราวกะว่าเอาพระสิริครอบงำสิริของพระจันทร์ ๓๒ ดวง ของพระอาทิตย์ ๓๒ ดวง ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๒ พระองค์ ของท้าวเทวราช ๓๒ พระองค์ ของท้าวมหาพรหม ๓๒ พระองค์ ที่ถูกตั้งไว้ตามลำดับ. โดยอาการที่พระสรีระนั้น ประดับด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ที่ทรงบำเพ็ญมาแล้วโดยชอบ ทานที่ทรงให้แล้ว ศีลที่ทรงรักษาแล้ว กัลยาณกรรมที่ทรงกระทำแล้วสิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป เมื่อไม่ได้ฐานะที่จะให้วิชาหยั่งลงในอัตภาพหนึ่งก็กลายเป็นเหมือนถึงที่คับแคบ ได้เป็นเหมือนเวลาที่ยกสิ่งของจากเรือพันลำลงบรรทุกเรือลำเดียว เหมือนเวลาที่ยกสิ่งของจากเกวียนพันเล่มเอาบรรทุกเกวียนเล่มเดียว เหมือนเวลาห้วงน้ำของแม่น้ำคงคาแยกออก ๒๕ สายแล้วรวมเป็นสายเดียวกัน ที่ประตูปากทางประทีปด้ามหลายพันดวงชูขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ผู้ส่องสว่างอยู่ด้วยพระพุทธสิรินี้ ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวาก็เหมือนกัน. ดอกมะลิซ้อน ดอกจำปา มะลิวัน อุบลแดง อุบลเขียว ดอกพิกุล และดอกไม้ยางทราย จุณเครื่องหอมมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น เรี่ยรายไป เหมือนสายน้ำที่เมฆทั้ง ๔ ทิศ โปรยปรายลงมา เสียงก้องกังวานแห่งดนตรีมีองค์ ๕ และเสียงแซ่ซ้องที่เกี่ยวด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ เต็มไปทุกทิศ. ดวงตาของเหล่าเทวดา มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์และยักษ์เป็นต้น ก็ได้เห็นเหมือนได้น้ำอมฤต. ก็การตั้งอยู่ในที่นี้แล้วกล่าวสรรเสริญการเสด็จดำเนินไปพันบทก็ควร. คำดังจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเพียงมุขคือหัวข้อในเรื่องนั้น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 446

"พระผู้เป็นนายกพิเศษของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยพระองคาพยพทุกส่วน สำเร็จความงดงามอย่างนี้ ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ย่อมเสด็จดำเนินไป. พระนราสภผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า เมื่อทรงยกพระบาทเบื้องขวา พระบาทแรก เสด็จดำเนินไปสมบูรณ์ด้วยพระสิริ ย่อมงดงาม. พื้นพระบาทเบื้องล่างของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ซึ่งเสด็จดำเนินไปก็อ่อนนุ่ม สัมผัสภาคพื้นที่เรียบละอองธุลีก็ไม่จับติด. พระผู้เป็นนายกของโลกกำลังเสด็จดำเนินไป ที่ลุ่มก็ดอนขึ้น และที่ดอนก็เรียบ ทั้งที่แผ่นดินหาจิตใจมิได้ แผ่นหิน ก้อนกรวด กระเบื้องถ้วย ตอและหนามทั้งหมด ก็เว้นมรรค (ไม่มีในทาง) เมื่อพระผู้เป็นนายกของโลกกำลังเสด็จดำเนินไป. พระมุนีผู้มีจรณะสมบูรณ์ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุและข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนิน ก็มีสมาธิพระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบนลงเบื้องต่ำ เบื้องขวาง และทิศใหญ่น้อยอย่างนั้น เสด็จดำเนินไปทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก. พระชินเจ้า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 447

พระองค์นั้น มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพระยาช้างในการเสด็จดำเนินไป จึงงดงาม. พระผู้เป็นยอดโลก เสด็จดำเนินงดงาม ทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจราชาแห่งดวงดาวคือพระจันทร์ ดุจไกรสรราชสีห์ ออกล่าเหยื่อในทิศทั้งสี่ ทรงทำพระผู้เป็นพหูสูตให้ยินดี เสด็จถึงบุรีอันประเสริฐแล."

นัยว่า นี้ชื่อว่า เวลาพรรณนาพระคุณ กำลังของพระธรรมกถึกเท่านั้นถือเอาเป็นประมาณ ในการพรรณนาพระสรีระอันประเสริฐ หรือในการพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้าในกาลทั้งหลาย อย่างวิธีอย่างนี้. คำมีประมาณเท่าใด สามารถกล่าวได้ด้วยบทร้อยแก้ว หรือด้วยบทผูกเป็นร้อยกรองได้ คำมีประมาณเท่านั้นก็ควรกล่าว ไม่ควรกล่าวคำที่เลวๆ. ด้วยว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระคุณหาประมาณมิได้. แม้แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยกันเอง ก็ยังไม่สามารถกล่าวพระคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยไม่ให้หลงเหลือได้. จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกนี้เล่าแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังศากยราชบุรี อันประดับตกแต่งด้วยสิริวิลาสแม้อย่างนี้ อันชนผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วบูชาอยู่ด้วยของหอม ธูป ผงอบเป็นต้น เสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สทฺธิํ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน วนํ สณฺาคารํ เตนุปสงฺกมิ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่ง (อันตรวาสก)

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 448

แล้ว ทรงถือบาตรแลจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปทางวนสัณฐาคาร. บทว่า ภควนฺตํเยว ปุรกฺขิตวา ได้แก่ กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ข้างหน้า. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางเหล่าภิกษุและเหล่าอุบาสก ทรงให้สรงด้วยน้ำหอม ให้น้ำไหลลงต่ำ ด้วยเครื่องรองรับคือผ้า เช็ดด้วยชาติหิงคุ (มหาหิงคุ) สง่างาม ประดุจรูปปฏิมาทองคำแท่งแดงที่เขาประจงวางไว้บนตั่ง ที่ผูกด้วยผ้ากัมพลแดง.

ก็นี้เป็นทางพรรณนาพระคุณของท่านโปราณาจารย์ทั้งหลายในข้อนั้น.

"พระผู้เป็นยอดโลก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพระยาช้าง เสด็จดำเนินไปยังโรงมณฑล ทรงเปล่งพระรัศมี ประทับนั่งเหนืออาสน์อันประเสริฐ. ณ ที่นั้น พระผู้เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก เป็นเทพล่วงเทพ มีพระบุณยลักษณ์ ๑๐๐ ประทับนั่งอยู่กลางพุทธอาสน์ รุ่งโรจน์ประดุจแท่งทองชมพูนุทบนผ้ากัมพลเหลือง. พระผู้ปราศจากมลทินดุจแท่งทองชมพูนุทที่วางไว้เหนือผ้ากัมพลเหลือง รุ่งโรจน์เหมือนรุ้งแก้วมณี ทรงเบ่งบานดั่งต้นสาละใหญ่ อันพระคุณประดับแล้วดังขุนเขาสิเนรุ เปล่งรัศมีดังประสาททอง เบิกบานดังปทุมโกกนุท. ทรงรุ่งเรืองดังประทีปมีด้าม เหมือนดวงไฟบนยอดเขา บานสะพรั่งรุ่งโรจน์ดังต้นปาริฉัตตกะของทวยเทพ ฉะนั้น."

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 449

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า กาปิลวตฺถเว สกฺเย พหุเทว รตฺติํ ธมฺมิยา กถาย ดังต่อไป. ชื่อว่า ธรรมกถาที่เกี่ยวด้วยอนุโมทนาสัณฐาคาร พึงทราบว่า เป็นปกิณณกกถา. ก็ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปกิณณกกถา นำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เหล่าเจ้าศากยชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เหมือนหยั่งลงสู่อากาศคงคา เหมือนควักเอาง้วนดินมา เหมือนจับยอดหว้าใหญ่สั่นอยู่ เหมือนคั้นผึ้งขนาดโยชน์หนึ่งด้วยเครื่องจักรยนต์แล้วให้ดื่มน้ำผึ้งว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่า อาวาสทาน นี้เป็นของใหญ่ อาวาสของพระองค์ เราก็ได้ใช้สอยแล้ว และภิกษุสงฆ์ก็ใช้แล้ว ทั้งเรา ทั้งภิกษุสงฆ์ก็ใช้แล้ว ก็เป็นอันพระธรรมรตนะ ก็ใช้สอยแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นอันพระรัตนตรัยใช้สอยแล้ว. จริงอยู่ เมื่อให้อาวาสทาน ก็เป็นอันชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ขึ้นชื่อว่าอานิสงส์แห่งบรรณศาลา และสาขามณฑป ใครๆ ก็ไม่อาจกำหนดได้. จริงอยู่ ด้วยอานุภาพแห่งอาวาสทาน การเกิดในครรภ์ที่คับแคบย่อมไม่มีแก่สัตว์ผู้เกิดในภพ ท้องของมารดา ย่อมเหมือนห้องน้อย ๑๒ ศอกไม่คับแคบ ครั้นตรัสธรรมีกถาเป็นอันมาก วิจิตรด้วยนัยต่างๆ อย่างนี้แล้ว (ตรัสคาถาวิหารทาน) ดังนี้ว่า.

"เสนาสนะ ย่อมป้องกันเย็นร้อน สัตว์ร้าย งู ยุง ความหนาวในฤดูหนาวและฝน ทั้งลมแดดอันกล้าที่เกิด เสนาสนะก็ป้องกันได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งฌานและเพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 450

สรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุเหล่าพหูสูตอยู่ในวิหารนั้นเถิด พึงถวายข้าวน้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ท่านเหล่านั้นด้วยน้ำใจอันผ่องใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง เขารู้ธรรมอันใดในพระศาสนานี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท ท่านภิกษุพหูสูตเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขาแล."

ดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงอานิสงสกถาแห่งการถวายที่อยู่อาศัย เกินยามครึ่งตลอดราตรีเป็นอันมาก ว่า อยมฺปิ อาวาเส อานิสํโส แม้นี้ก็เป็นอานิสงส์ในการถวายอาวาส ดังกล่าวมาฉะนี้. ในข้อนั้น วิหารทานคาถาเหล่านี้ ท่านพระธรรมสังคหกาจารย์ยกขึ้นสู่การสังคายนา ส่วนปกิณณกธรรมเทศนามิได้ยกขึ้นสู่การสังคายนา.

บทว่า สนฺทสฺเสตฺวา เป็นต้นมีฐานะที่กล่าวไว้แล้ว. บทว่า อติกฺกนฺตา แปลว่า ก้าวล่วงแล้ว คือล่วงไป ๒ ยาม. บทว่า ยสฺส ทานิ กาลํ มญฺถ ความว่า ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญเวลาแห่งการไปใด เวลาแห่งการไปนั้นเป็นของท่าน ท่านอธิบายไว้ว่า ท่านจงไปกันเถิด. ถามว่าก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงส่งเจ้าศากยะเหล่านั้นไป. แก้ว่า เพราะเพื่อทรงอนุเคราะห์. จริงอยู่ เจ้าศากยะเหล่านั้นเป็นสุขุมาลชาติ ผู้ละเอียดอ่อน เมื่อเจ้าศากยะเหล่านั้นประทับนั่ง ล่วงราตรี ๓ ยามไป

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 451

พึงเกิดอาพาธขึ้นในพระสรีระ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็มาก ภิกษุสงฆ์นั้นควรจะได้โอกาสยืนและนั่ง เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงส่งไปเพื่ออนุเคราะห์ ทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า วิคตถีนมิทฺโธ ความว่า ได้ยินว่าภิกษุทั้งหลาย ได้ยืนโงก นั่งโงก ตลอด ๒ ยาม ในที่นั้น แต่ยามสุดท้ายอาหารย่อย คำว่า ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ (ไม่ง่วงนอน) นั้น มิใช่เหตุ เพราะอาหารนั้นย่อยแล้ว. ความจริง ภิกษุสงฆ์ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีความกระวนกระวายทางกายและทางจิต. วิการรูปมีความเบากายและเบาจิตเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น ยืนก็ดี นั่งก็ดี ตลอด ๒ ยาม ฟังธรรมอยู่ ก็ปราศจากถีนะมิทธะ แม้ถึงปัจฉิมยาม ก็ปราศจากถีนะมิทธะ เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า วิคตถีนมิทฺโธ ดังนี้.

บทว่า ปิฏฺิ อาคิลายติ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเจ็บหลัง. แก้ว่า เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เริ่มตั้งความเพียรใหญ่ ตลอด ๖ ปี ทรงมีทุกข์ทางกายแล้ว. ครั้นต่อมา เมื่อเวลาทรงพระชรา จึงเกิดโรคเจ็บหลังขึ้น ข้อนี้มิใช่เหตุสำหรับพระองค์. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถข่มเวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการนั่งขัดสมาธิรวดเดียว ตลอด ๑ สัปดาห์บ้าง ๒ สัปดาห์บ้าง. แต่มีพระประสงค์ จะทรงใช้สอยสัณฐาคารศาลา ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔. ได้เสด็จดำเนินไป จากที่ชำระพระหัตถ์และพระบาทจนถึงธรรมาสน์. การเสด็จดำเนินไป ในที่เท่านี้สำเร็จแล้ว. เสด็จถึงธรรมาสน์ (อาสนะนั่งแสดงธรรม) แล้ว ประทับยืนหน่อยหนึ่งแล้วประทับนั่ง. การ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 452

เสด็จไปในที่เท่านี้สำเร็จแล้ว. ประทับนั่งบนธรรมาสน์ ๒ ยาม การประทับนั่งในที่เท่านี้สำเร็จแล้ว. บัดนี้เมื่อพระองค์บรรทมตะแคงขวาหน่อยหนึ่ง ก็จักสำเร็จการบรรทมดังกล่าวมานี้ พระองค์มีพระประสงค์ จะทรงใช้สอยด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ฉะนี้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า สรีระที่มีใจครองไม่ควรกล่าวว่า จะไม่เจ็บไข้ เพราะฉะนั้น ทรงถือเอาการเจ็บไข้แม้เล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเพราะนั่งนาน จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า สงฺฆาฏิํ ปญฺเปตฺวา ความว่า พวกเจ้าเหล่านั้นสั่งให้วงม่าน ๗ ชั้น ณ ข้างๆ หนึ่งแห่งสัณฐาคาร แล้วให้จัดตั้งเตียงอันสมควร ให้ลาดที่นอนอันสมควร ให้ดาดเพดานประดับด้วยดาวทองและพวงดอกไม้หอม ให้ตามประทีปด้วยน้ำมันหอม ด้วยทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ พระศาสดาจะพึงเสด็จลงจากธรรมาสน์ พักหน่อยหนึ่ง พึงบรรทมในที่นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สัณฐาคารของเรา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้สอยด้วยอิริยาบถ ๔ จักมีประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. ฝ่ายพระศาสดาทรงหมายเอาข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงปูสังฆาฏิและบรรทมในที่นั้น. บทว่า อุฏฺานสฺํ มนสิกริตฺวา ความว่า พระองค์ตั้งสัญญาในกาลเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัยว่า ล่วงเวลาเท่านี้แล้วจักลุกขึ้น ไม่บรรทมหลับ ทรงฟังธรรมกถาของพระเถระนั้นแลอยู่.

บทว่า อวสฺสุตปริยายํ ได้แก่ ปริยายแห่งภิกษุผู้ชุ่มแล้ว อธิบายว่า เหตุแห่งภิกษุผู้ชุ่มแล้ว บทว่า อธิมุจฺจติ ได้แก่ น้อมจิตไป คือยินดีด้วยการน้อมไปในกิเลส. บทว่า พฺยาปชฺชติ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเสียด้วยอำนาจพยาบาท.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 453

บทว่า จกฺขุโต แปลว่า โดยภาวะแห่งจักษุ. บทว่า มาโร ได้แก่ กิเลสมารบ้าง เทวปุตตมารบ้าง. บทว่า โอตารํ แปลว่า ช่อง. บทว่า อารมฺมณํ ได้แก่ ปัจจัย. บทว่า นาฬาคารํ ความว่า อายตนะ ที่เป็นไปด้วยการเสพผิด เหมือนเรือนหญ้า อารมณ์ที่ควรแก่การเกิดขึ้นแห่งกิเลส เหมือนคบหญ้า การเกิดขึ้นแห่งกิเลสในเมื่ออารมณ์มาปรากฏ เหมือนการลุกโพลงแห่งถ่านเพลิง ในที่ๆ คบหญ้าอันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโมคคัลลานะ จึงกล่าวว่า ลเภถ มาโร โอตารํ.

ในสุกกปักข์ฝ่ายข้างดี พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. อายตนะ ที่หมดพยศ เหมือนกุฏาคารที่ฉาบด้วยก้อนดินหนา อารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว เหมือนคบหญ้า การไม่เกิดขึ้นแห่งความเร่าร้อนคือกิเลส เมื่ออารมณ์ของอายตนะที่หมดพยศแล้วมาปรากฏ เหมือนการทำให้เพลิงดับ ในที่ๆ คบหญ้าอันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เนว ลเภถ มาโร โอตารํ ดังนี้.

จบ อรรถกถาอวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖