พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ทุกขธรรมสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ก.ย. 2564
หมายเลข  37377
อ่าน  421

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 453

๗. ทุกขธรรมสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 453

๗. ทุกขธรรมสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม

[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ไม่นอน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 454

เนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างไร. ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ ฯลฯ สัญญาดังนี้ ฯลฯ สังขารทั้งหลายดังนี้ ฯลฯ วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่าง นี้แล.

[๓๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้ว อย่างไรเล่า เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ ด้วยอาการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผ่านมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่านเพลิงนั้น บุรุษนั้น พึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 455

ว่าบุรุษนั้นไม่มีความรู้ว่า เราจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือความทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ก็ฉันนั้นแล เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ ด้วยอาการนั้น.

[๓๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า. อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มีหนาม ข้างหลังก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าแทงเรา แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม คือปิยรูปและสาตรูปในโลกนี้ เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ว่าด้วยอสังวรและสังวร

[๓๓๕] ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 456

เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล.

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างนี้แล.

[๓๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 457

บังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแลภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยาดน้ำสองหรือสามหยาดตกลงในกะทะเหล็กอันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้า ที่นั้นแล น้ำนั้นพึงถึงความสิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้ง บางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทา อกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา ราชมหาอำมาตย์ มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้น ผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ. ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้องอยู่ทำไม. ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและจงทำบุญเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลหลั่งถั่งเทไปในทิศปราจีน ถ้าว่ามหาชนพึง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 458

เอาจอบและตะกร้ามาด้วยคิดว่า พวกเราจักช่วยกันทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลหลั่งถั่งเทกลับหลังไป เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. หมู่มหาชนนั้น พึงกระทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลหลั่งถั่งเทกลับหลังไปได้บ้างหรือหนอแล. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลหลั่งถั่งเทไปในทิศปราจีน แม่น้ำคงคานั้นอันบุคคลจะทำให้ไหลหลั่งถั่งเทกลับหลังไปไม่ใช่กระทำได้ง่าย ก็หมู่มหาชนนั้น พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากยากแค้นเพียงไรแม้ฉันใด.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา ราชมหาอำมาตย์ มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อจะให้ยินดียิ่งด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ. ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้องอยู่ทำไม. ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะ และจงทำบุญเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเธอน้อมไป โน้มไป เอนไปในวิเวกสิ้นกาลนาน ก็จิตนั้นจักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

จบ ทุกขธรรมสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 459

อรรถกถาทุกขธรรมสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมเป็นเหตุเกิดทุกข์ เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ มีอยู่ ทุกข์แยกประเภทออกเป็นการตัด (ตีนสิบมือ) การฆ่า และการจองจำเป็นต้น ก็เกิดขึ้น. เพราะฉะนั้นขันธ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ทุกขธรรม เพราะเป็นธรรมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์. (๑)

บทว่า ตถา โข ปนสฺสา ความว่า กามทั้งหลาย เป็นอันภิกษุนั้นเห็นแล้ว ด้วยอาการนั้น.

บทว่า ยถาสฺส กาเม ปสฺสโต ความว่า เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลาย ด้วยอาการใด.

บทว่า ยถา จรนฺตํ ความว่า ผู้เที่ยวติดตาม การเที่ยวไป และการอยู่ โดยอาการใด.

บทว่า องฺคารกาสูปมา กามา ทิฏฺา โหนฺติ ความว่า กามทั้งหลาย เป็นอันภิกษุนั้นเห็นแล้วว่า มีความเร่าร้อนมาก เหมือนความเร่าร้อนในหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ที่มีการแสวงหาเป็นมูล และมีปฏิสนธิเป็นมูล.

อธิบายว่า การแล่นเรือออกมหาสมุทร การเดินไปตามทางที่ยากลำบาก และตามทางที่โค้ง ย่อมมีแก่บุคคลแสวงหากาม.

จริงอยู่ สำหรับผู้แสวงหากาม จะเกิดทุกข์มีการแสวงหา และมีมรดกเป็นมูล โดยการออกเรือ (หากิน) ทางทะเล การเดินทางวิบาก


(๑) ปาฐะว่า ทุกขสมฺภวธมฺมตา ฉบับพม่าเป็น ทุกขสมฺภวธมฺมตฺตา แปลตามฉบับพม่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 460

และทางที่คดโค้ง และการเข้าสู่สงความประชิดกันทั้งสองฝ่ายเป็นต้นบ้าง (๑) สำหรับผู้บริโภคกาม จะเกิดทุกข์มีความเร่าร้อนมาก มีเจตนาที่บริโภคกาม ให้เกิดปฏิสนธิในอบายทั้ง ๔ เป็นมูลบ้าง. กามทั้งหลายเป็นอันภิกษุเห็นว่า มีความเร่าร้อน อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ทั้งสองอย่าง ดังพรรณนามานี้.

บทว่า ทายํ แปลว่า ดง.

บทว่า ปุรโต กณฺฏโก ความว่า หนามอยู่ในที่ใกล้นั่นเอง ประหนึ่งว่า อยากจะตำที่ด้านหน้า.

แม้ในบทว่า ปจฺฉโต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ข้างล่าง คือในที่ใกล้ซึ่งเท้าเหยียบ ได้แก่ตรงที่ที่เท้าเหยียบนั่นแล บุรุษนั้นพึงเป็นเหมือนเข้าไปสู่ดงหนามด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า มา มํ กณฺฏโก ความว่า ระวังหนามจะตำ ด้วยคิดว่า "หนามอย่าตำเราเลย". (๒)

บทว่า ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสตินั่นแล ช้า แต่เมื่อสตินั้นพอเกิดขึ้นแล้ว ชวนจิตก็จะแล่นไป กิเลสทั้งหลายก็จะถูกข่มไว้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. อธิบายว่า ในจักษุทวาร เมื่อกิเลส


(๑) ปาฐะว่า นาวาย มหาสมุทฺโทคาหณ อกุชฺชุปถสงฺกุปถปฏิปชฺชนํ อุภโต พฺยูฬฺ หาสงฺคามปกฺขนฺทนาทิวเสน. ฉบับพม่าเป็น นาวาย มหาสมุทฺโทคาหณ อชปถ สงฺกุปถปฏิปชฺชนอุภโตพฺยุฬฺหสงฺคามปกฺขนฺทนาทิวเสน. แปลตามฉบับพม่า.

(๒) ปาฐะว่า มา มํ กณฺฏโก วิชฺฌติ กณฺฏกเวธํ รกฺขมาโน ฉบับพม่าเป็น มา มํ กณฺฏโกติ มา มํ กณฺฏโก วิชฺฌีติ กณฺฏกเวธํ รกฺขมาโน แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 461

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว เพราะทราบโดยวาระแห่งชวนจิตที่สองว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ชวนจิตสหรคตด้วยสังวรก็จะแล่นไปในวาระแห่งชวนจิตที่สาม ก็ข้อที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงข่มกิเลสทั้งหลายได้ในวาระแห่งชวนจิตที่สามไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์เลย.

อนึ่งในจักษุทวาร เมื่ออิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) มาสู่ครอง ภวังคจิตก็จะระลึก ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะห้ามวาระแห่งชวนจิตที่มีกิเลสคละเคล้าเสีย ต่อจากโวฏฐัพพนจิตแล้วให้วาระแห่งชวนจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นแทนทันที. ก็นี้เป็นอานิสงส์ของการที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ดำรงมั่นอยู่ในการพิจารณาภาวนา.

บทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยุํ ความว่า (พระราชาหรือราชอำมาตย์ ก็ดี มิตรหรืออำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ดี) พึงนำรตนะ ๗ ประการมามอบให้ตามกาล เหมือนที่นำมามอบให้แก่พระสุทินเถระ และพระรัฐบาลกุลบุตร หรือกล่าวปวารณา ด้วยวาจาว่า ท่านปรารถนาทรัพย์ของเราจำนวนเท่าใด จงเอาไปเท่านั้น. (๑)

บทว่า อนุทหนฺติ ความว่า ผ้ากาสาวะทั้งหลาย ชื่อว่าเผาไหม้ให้เกิดความเร่าร้อน เพราะปกคลุมร่างกาย. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า คล้องติดแนบสนิทอยู่ที่ร่างกายซึ่งเกิดเหงื่อไคลไหลย้อย.


(๑) ปาฐะว่า ... กาเล สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา ตฺยา วา ... แต่ฉบับพม่าเป็น กาเยน วา สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา วาจาย วา ... แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 462

บทนี้ว่า ยํ หิ ตํ ภิกฺขเว จิตฺตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะเมื่อจิตไม่หวนกลับ ชื่อว่าความเป็นไป (หวนกลับ) ของบุคคลไม่มี และจิตเห็นปานนี้ ก็ไม่เป็นไป (ไม่หวนกลับ).

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพลังของวิปัสสนาไว้ในสูตรนี้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

จบ อรรถกถาทุกขธรรมสูตรที่ ๗