พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร ว่าด้วยสงครามเทวดากับอสูร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ก.ย. 2564
หมายเลข  37382
อ่าน  802

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 509

๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร

ว่าด้วยสงครามเทวดากับอสูร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 509

๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร

ว่าด้วยสงครามเทวดากับอสูร

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าว่าเมื่อสงความเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพนั้นด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา. ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ.

[๓๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ อยู่ใกล้ประตูเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล ส่วนอสูรทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 510

ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรจะพิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลาย เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล ส่วนเทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปอสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียด อย่างนี้แล เครื่องจองจำของมารละเอียดยิ่งกว่าเครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อสำคัญ (ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ชื่อว่าถูกมารจองจำแล้ว (แต่) เมื่อไม่สำคัญ ชื่อว่าพ้นแล้วจากมารผู้มีบาป.

ว่าด้วยความสำคัญด้วยตัณหาเป็นต้น

[๓๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความสำคัญด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยนหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่านี้ น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความสำคัญด้วย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 511

อุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความสำคัญด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺินาสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่สำคัญอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๓๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความหวั่นไหวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปิ ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสัญญินาสัญญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 512

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺินาสญฺี ภวิสสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้ดิ้นรนอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความเนิ่นช้าด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺินาสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 513

น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความถือตัวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจกำจัดมานะออกได้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบ เทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒

อาสีวิสวรรคที่ ๔

อรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒ (๑)

บัดนี้เพื่อจะแสดงกิเลสที่ปรารถนาภพนั้น ของสัตว์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภุตปุพฺพํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ตตฺร โยค เทวสภายํ เป็นสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า ในเทวสภานั้น). อธิบายว่า ใกล้ประตูเทวสภาชื่อว่าสุธรรมา.


(๑) สูตรที่ ๑๒ อรรถกถาแก้รวมไว้ในสูตรที่ ๑๑ ในที่นี้แยกไว้ต่างหาก.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 514

ด้วยบทว่า ธมฺมิกา โข เทวา นี้ ท้าวเวปจิตติผู้เป็นอสุราธิบดีกล่าวหมายเอาทวยเทพเหล่านี้ ผู้ทรงธรรม ซึ่งจับอสุราธิบดีผู้เช่นเรา ด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้ว แต่ไม่ทำแม้เพียงการทำลายเรา.

ด้วยบทว่า อธมฺมิกา เทวา ท้าวเวปจิตติกล่าวหมายเอาทวยเทพเหล่านี้ ผู้ไม่ทรงธรรม ซึ่งจับอสุราธิบดีผู้เช่นเราแล้ว จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้วให้นอนอยู่ เหมือนผูกหมูไว้กับคูถใหม่ฉะนั้น.

บทว่า เอวํ สุขุมํ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติพนฺธนํ ความว่า ดูเหมือนว่า เครื่องผูกนั้นเป็นเครื่องผูกที่ละเอียด เหมือนกับใยก้านปทุม และเหมือนใยตาข่ายแมลงมุม แต่ใครๆ ไม่อาจตัดได้ด้วยมีดและขวานได้ แต่เพราะเหตุนี้มีการก่อกำเนิดขึ้นด้วยจิตนั่นเอง และจะหลุดพ้นก็ด้วยจิต ฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า เครื่องผูกของอสูรชื่อเวปจิตติ.

บทว่า ตโต สุขุมตรํ มารพนฺธนํ ความว่า แต่เครื่องผูกคือกิเลสนี้ ละเอียดกว่าเครื่องผูกของท้าวเวปจิตตินั้น คือไม่ไปสู่คลองแห่งจักษุ (ไม่ผ่านตา) ได้แก่ ไม่ปิดกั้นอิริยาบถไว้ เนื่องด้วยสัตว์ทั้งหลายถูกเครื่องผูกคือกิเลสผูกมัดไว้ จะไปก็ได้ มาก็ได้ ในพื้นปฐพีบ้าง บนอากาศบ้าง ไกล ๑๐๐ โยชน์ก็มี ๑๐๐๐ โยชน์ก็มี เพราะเครื่องผูกนี้ เมื่อจะขาด ก็ขาดด้วยญาณ ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเครื่องผูกที่จะหลุดพ้นไปได้ด้วยญาณบ้าง.

บทว่า มญฺมาโน ความว่า สำคัญ (ยึดถือ) อยู่ซึ่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 515

บทว่า พนฺโธ มารสฺส ความว่า ถูกผูกด้วยเครื่องผูกของมาร. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มารสฺส นี้ เป็นฉัฏฐิวิภัตติใช้ในอรรถของตติยาวิภัตติ หมายความว่า ถูกผูกมัดไว้ด้วยกิเลสมาร.

บทว่า มุตฺโต ปาปิมโต ความว่า พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร. อีกอย่างหนึ่งคำว่า ปาปิมโต นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถ (๑) ของตติยาวิภัตติเหมือนกัน หมายความว่า หลุดพ้นแล้วจากมารผู้ลามก คือจากเครื่องผูกคือกิเลสนั่นเอง.

ด้วยบทว่า อสฺมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา.

ด้วยบทว่า อยหมสฺมิ ตรัสความสำคัญทิฏฐิด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิเหมือนกัน.

ด้วยบทว่า น ภวิสฺสนฺติ ตรัสไว้ด้วยอำนาจอุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า รูปี เป็นต้น บ่งถึงประเภทของสัสสตทิฏฐินั่นเอง. (๒)

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ความสำคัญที่เป็นความเจ็บป่วยชื่อว่าเป็นทั้งโรค เป็นทั้งฝี เป็นทั้งลูกศร เพราะอำนาจความใคร่ที่มีโทษอยู่ภายใน.


(๑) ปาฐะว่า กรเณเยว ฉบับพม่าเป็น กรณตฺเตเยว แปลตามฉบับพม่า.

(๒) ปาฐะว่า สสฺสตวเสน ฉบับพม่าเป็น สสฺสตสฺเสว แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 516

คำว่า อิญฺชิตํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงอาการของตัณหาและสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายหวั่นไหว ดิ้นรน ชักช้าและถึงอาการประมาทแล้ว (๑) ด้วยกิเลสเหล่านี้.

แต่ในมานคตวาระ มีอรรถาธิบายว่า การไปของมานะ ชื่อว่ามานคตะ ได้แก่ เป็นไปด้วยมานะ. (๒) มานคตะ (๓) ก็คือมานะนั่นเอง เหมือน (คำว่า) คูถคตะ มุตฺตคตะ (ก็เท่ากับคูถะมุตะ).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺมิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจมานะที่สัมปยุตด้วยตัณหา (หมายถึงมานะประกอบกับตัณหา).

บทว่า อหมสฺมิ ตรัสไว้ด้วยอำนาจทิฏฐิ (ทรงหมายถึงทิฏฐิอย่างเดียว).

ถ้าจะมีคำถามว่า มานะ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ไม่มี ไม่ใช่หรือ.

ตอบว่า เออ ไม่มี แต่เพราะยังละมานะไม่ได้ ขึ้นชื่อว่าทิฏฐิ จึงยังมีอยู่. คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาทิฏฐิที่มีมานะเป็นมูล. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นดังนี้แล.

จบ อรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒

จบ อาสีวิสวรรคที่ ๔

จบ อรรถกถาสฬายตนสังยุตต์


(๑) ปาฐะว่า สมคฺคาการํปตฺตา ฉบับพม่าเป็น ปมตฺตาการปตฺตา แปลตามฉบับพม่า.

(๒) ปาฐะว่า มานํ ปวตฺตติ ฉบับพม่าเป็น มานปวตฺตติ แปลตามฉบับพม่า.

(๓) ปาฐะว่า คตํ ฉบับพม่าเป็น มานคตํ แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 517

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาสีวิสสูตร ๒. รถสูตร ๓. กุมมสูตร ๔. ปฐมทารุขันธสูตร ๕. ทุติยทารุขันธสูตร ๖. อวัสสุตสูตร ๗. ทุกขธรรมสูตร ๘. กิงสุกสูตร ๙. วีณาสูตร ๑๐. ฉัปปาณสูตร ๑๑. ยวกลาปิสูตร ๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร.

รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์ คือ

๑. นันทิขยวรรค ๒. สัฏฐินยวรรค ๓. สมุททวรรค ๔. อาสีวิสวรรค

จบ จตุตถปัณณาสก์

จบ สฬายตนสังยุต