๒. สุขสูตร ว่าด้วยผู้รู้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ย่อมหมดความยินดีในเวทนา
[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 3
๒. สุขสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ย่อมหมดความยินดีในเวทนา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 3
๒. สุขสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ย่อมหมดความยินดีในเวทนา
[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล.
[๓๖๒] ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอกมีอยู่ ภิกษุรู้ว่า เวทนานี้เป็นทุกข์ มีความพินาศเป็นธรรมดา มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความเสื่อมไปอยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้.
จบ สุขสูตรที่ ๒
อรรถกถาสุขสูตรที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในสุขสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อทุกฺขมสุขํ สห ได้แก่ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข พร้อมด้วยสุขและทุกข์ บทว่า อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ ความว่า ของตนและของคนอื่น. บทว่า โมสธมฺมํ คือมีความพินาศเป็นสภาพ. บทว่า ปโลกินํ คือทำลาย มีความแตกเป็นสภาพ. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วยํ ผุสฺสํ ความว่า ถูกต้อง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 4
ความเสื่อมเพราะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิรชฺชติ ความว่า ย่อมคลายความยินดี ในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ในพระสูตร แม้นี้ ตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณา ตรัสการถูกต้องด้วยญาณ ในคาถาทั้งหลาย.
จบ อรรถกถาสุขสูตรที่ ๒