พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปหานสูตร ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ก.ย. 2564
หมายเลข  37386
อ่าน  417

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 4

๓. ปหานสูตร

ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา ๓


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 4

๓. ปหานสูตร

ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา ๓

[๓๖๓] ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยในสุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ.

[๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมแก่ภิกษุผู้เสวยสุขเวทนาไม่รู้สึกตัวอยู่ มีปกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุข-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 5

เวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาประดุจปฐพีทรงแสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์เลย เพราะเหตุที่ภิกษุผู้มีความเพียร ละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ เธอชื่อว่าเป็นบัณฑิต ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรมถึงที่สุดเวท เมื่อตายไป ย่อมไม่เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้หลง ดังนี้.

จบ ปหานสูตรที่ ๓

อรรถกถาปหานสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในปหานสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตญฺหํ ความว่า ตัดตัณหาแม้ทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว. บทว่า นิวตฺตยิ สญฺโชนํ ความว่า เพิกถอนสังโยชน์ทั้ง ๑๐ อย่างได้แล้ว คือได้ทำให้หมดมูล. บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ คือโดยการณ์. บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะเห็นและละมานะเสียได้ ด้วยว่าอรหัตตมรรค ย่อมเห็นซึ่งมานะด้วยสามารถแห่งกิจ. นี้จัดเป็นการละมานะนั้นด้วยทัสสนะ. ส่วนมานะนั้นอันอรหัตตมรรคนั้นเห็นแล้ว ย่อมละได้ทันทีเหมือนชีวิตของสัตว์อันบุคคลเห็นละได้ด้วยสามารถทิฏฐิฉะนั้น. นี้จัดเป็นการละมานะนั้นด้วยปหานะ. บทว่า อนฺตมกาสิทุกฺขสฺส ท่านอธิบาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 6

ว่าที่สุด ๔ เหล่านี้ ใด คือที่สุดมีเขตแดนเป็นที่สุด ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เครื่องผูกกาย ย่อมคร่ำคร่าเป็นที่สุด หรือมีความสดสวยเป็นที่สุดดังนี้ ๑ ที่สุดแห่งความลามกพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า นี้เป็นที่สุดแห่งชีวิต นะภิกษุทั้งหลายดังนี้ ๑ ส่วนสุดท่านกล่าวอย่างนี้ว่า กายของตนมีที่สุดอย่างหนึ่งดังนี้ ๑ ส่วนสุดท่านกล่าวอย่างนี้ว่า นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสิ้นปัจจัยทั้งหมดดังนี้ ๑ ในที่สุด ๔ เหล่านั้น ภิกษุได้ทำที่สุดกล่าวคือส่วนที่ ๔ แห่งวัฏฏทุกข์ทั้งหมดนั้นแล คือได้ทำการเพื่อกำหนด การที่กำหนดไว้ คือได้ทำทุกข์เหลือเพียงร่างกายเป็นที่สุดดังนี้.

บทว่า สมฺปชญฺเน นิพฺพาติ ได้แก่ ย่อมละเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ บทว่า สํขยํ นูเปติ ความว่า ย่อมไม่เข้าถึงบัญญัติว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้หลงดังนี้ เธอละบัญญัตินั้นได้แล้ว ได้ชื่อว่ามหาขีณาสพ. อารัมมณานุสัยตรัสไว้แล้วในพระสูตรนี้แล.

จบ อรรถกถาปหานสูตรที่ ๓