พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปาตาลสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ปรากฏและปรากฏในบาดาล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ก.ย. 2564
หมายเลข  37387
อ่าน  455

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 6

๔. ปาตาลสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ปรากฏและปรากฏในบาดาล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 6

๔. ปาตาลสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ปรากฏและปรากฏในบาดาล

[๓๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทรมีบาดาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดวาจาอันไม่มีอันไม่ปรากฏอย่างนี้ว่าในมหาสมุทรมีบาดาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บาดาล นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระแล ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 7

ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เรากล่าวว่า ไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมไม่ถึงความงมงาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วนี้ เรากล่าวว่า ย่อมปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งถึงอีกด้วย.

[๓๖๖] นรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไปในสรีระเครื่องนำชีวิตเสีย บังเกิดขึ้น ถูกต้องแล้ว อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว เป็นผู้ทุรพล กำลังน้อย ย่อมคร่ำครวญ ร่ำไร นรชนนั้นย่อมไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย ส่วนนรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไปในสรีระ เครื่องนำชีวิต บังเกิดขึ้น ถูกต้อง อดกลั้นไว้ได้ ย่อมไม่หวั่นไหว นรชนนั้นแล ย่อมปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งถึงอีกด้วย.

จบ ปาตาลสูตรที่ ๔

อรรถกถาปาตาลสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในปาตาลสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาตาโล ชื่อว่าบาดาล เพราะอรรถว่า อย่าปรารถนาเพื่อตกไป ในที่นี้ ย่อมไม่มีที่อาศัย. บทว่า อสนฺตํ อสํวิชชมานํ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 8

วาจาไม่มี ไม่ปรากฏ. บทว่า เอวํ วาจํ ภาสติ ความว่า ปุถุชน ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทรมีบาดาล. ก็บาดาลนั้น คล้ายเหวในมหานรก ย่อมมีในที่ตกแห่งน้ำซึ่งเป็นปากน้ำเชี่ยว แห่งมหาสมุทร พุ่งไปด้วยความเร็ว จดจักรวาล หรือภูเขาสิเนรุแล้ว ก็พุ่งขึ้น แม้ประมาณหนึ่งโยชน์ สองโยชน์ หรือสิบโยชน์แล้ว ก็ตกลงในมหาสมุทรอีก. น้ำใด เขาเรียก กันในโลกว่า ปากน้ำเชี่ยว ปุถุชนย่อมพูดอย่างนี้ หมายถึงน้ำนั้น. ก็เพราะในน้ำแห่งมหาสมุทรนั้นเป็นที่อยู่อาศัยอันสบายของปลา เต่า เทพยดาและยักษ์เห็นปานนั้นฉะนั้น. ชื่อว่า ย่อมพูดวาจานั้นๆ อันไม่มีปรากฏ. ก็เพราะพวกปุถุชนทั้งปวง ย่อมไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ด้วยทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระได้. ฉะนั้น พระองค์ ทรงแสดงว่า นี้แหละ บาดาลดังนี้ด้วยความหมายว่า ไม่ควรเพื่อตกไป จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า สารีริกานํ โข เอตํ ภิกฺขเว. บทว่า ปาตาเล น ปจฺจุฏฺาติ คือ ไม่ตั้งอยู่แล้วในบาดาล. บทว่า คาธํ คือ ที่อยู่อาศัย.

บทว่า กนฺทติ ความว่า ย่อมคร่ำครวญบ่นเพ้อร่ำไรตลอดกาล. บทว่า ทุพฺพโล คือมีญาณทุรพล. บทว่า อปฺปถามโก ความว่า ชื่อว่ามีกำลังน้อย เพราะกำลังแห่งญาณที่น้อย. เพราะอริยสาวกในสูตรนี้ เป็นโสดาบัน ความจริง อริยสาวกผู้โสดาบัน มีหน้าที่ในข้อนี้. ฝ่ายโยคาวจรผู้มีวิปัสสนาแก่กล้าคือความรู้เฉียบแหลมเป็นผู้สามารถดำรงอยู่ได้ ไม่ดิ้นรนไปตามเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วได้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาปาตาลสูตรที่ ๔