กระแสบูชาองค์ท้าวจตุคามหรือเทพต่างๆ
กระแสบูชาองค์ท้าวจตุคามหรือเทพต่างๆ กำลังมาแรง อยากทราบว่า ท่านผู้ศึกษาธรรมในแนวทางที่ถูกต้องมีความเห็นเป็นอย่างไร
เป็นชาวพุทธต้องมั่นคงเรื่องกรรมและผลของกรรม ถ้าไม่ศึกษาพระธรรม อวิชชา ตัณหา ความเห็นผิด และอกุศลธรรมทั้งปวง ย่อมนำมาซึ่งทุกข์
การบูชาที่สูงที่สุด คือ การบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ค่ะ
องค์เทพต่างๆ ทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งเคารพบูชาเป็นความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เราชาวพุทธควรยึดมั่นในคำสอนขององค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเลิศประเสริฐสุด เหนืออื่นใดในสากลจักรวาล ควรยึดมั่นในธรรม หมั่นสั่งสมปัญญาศึกษาจากพระไตรปิฎก และฟังการบรรยายธรรมจากท่าน อ.สุจินต์ เมื่อมีโอกาสและเวลา พิจารณาให้แจ้งในธรรม ก็อาจจะพ้นจากอบาย ๔ ได้ในกาลอันควร พิจารณาดูว่า แม้แต่เทพยังต้องมาฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์เลย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
I have to agree with Wannee.s, but you have to know his teaching about Nama, Rupa, Kusala Dhamma, Akusala Dhamma and understand them.
เป็นไปตามยุคสมัยค่ะ ถ้านักการตลาดเค้าจะเรียกสิ่งนี้ว่า ศรัทธามาเก็ตติ้ง มีมูลค่าสูง ซึ่งต้นทุนต่ำ กำไรมากกว่า ๒๐ เท่า
คนที่เชื่อมั่นในพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่วแน่ ย่อมไม่สนใจในเทพเทวดาใดๆ ไม่ต้องขนขวายหามาครอบครอง
ถาม คำว่า "ยำเกรง" อย่างไรเรียกว่า ยำเกรงในพระรัตนตรัย
ตอบ ไม่ดูหมิ่น ไม่ลบหลู่ ท่านผู้ฟังเห็นที่บูชาพระสกปรก ขัดถูเช็ดหรือเปล่า มีฝุ่นละอองนี้ค่ะ ยำเกรงไหมค่ะ หรือทิ้งไว้ ปล่อยไป ท่านพระอานนท์ เมื่อจะกล่าวรัตนสูตร เอาบาตรของพระผู้มีพระภาคใส่น้ำ เดินปะพรมไป ทั่วพระนคร ไม่ใช่พรมเฉยๆ เมื่อจะกล่าวรัตนสูตร
สิ่งใดก็ตามที่อยู่นอกเหนือจาก มงคล ๓๘ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นมงคลตื่นข่าว
ถึงไม่มีเรื่องนี้ ก็จะต้องมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนที่จะเป็นกระแสของสังคมโลก ผู้คนในสมัยนี้ ไม่ได้สนใจที่จะเข้าใจอะไรที่เป็นความจริงของชีวิต เพราะว่ามันยาก มันต้องคิด มันต้องศึกษา แล้วมันไม่ได้เห็นผลทันตา สิ่งที่เค้าต้องการในชีวิต คือ อะไรก็ได้ที่มันง่ายๆ และผู้คนทั่วไปเค้านิยมกัน เค้าศรัทธากัน มันเหมือนกับเป็นกระแสหรืออะไร สักอย่างหนึ่งก็ว่าได้
ลองคิดดูสิคะ? ท่านสอนให้ละคลายความเป็นตัวตน ให้ละคลายความเห็นที่ผิดๆ ละคลายความไม่รู้ ถามว่าจะมีสักกี่คนที่อยากจะทำอย่างนั้นคะ? มีสักกี่คนที่อยากจะศึกษาให้รู้ความจริงว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร? อะไรคือธรรม? แล้วอะไรที่เรียกว่ากิเลสจริงๆ?
ถ้าหากเราคิดดูดีๆ เราก็จะเห็นว่า การสะสมจากชาติปางก่อนนั้นสำคัญมากๆ ดังนั้นในชาตินี้ หากผู้ใดไม่มีการสะสมที่จะแสวงหาความเข้าใจถูก ความเห็นถูก เค้าก็จะไปแสวงหาสิ่งอื่นแทน แล้วเราเป็นใคร? ที่จะไปเปลี่ยนแปลงสังคมโลกให้คิดตามหรือศึกษาตามว่า มาลองเรียนทางนี้ดูสิ ทางนี้ถูกนะ อย่างอื่นไม่ใช่หนทางนะ เป็นต้น ในความคิดเห็นของดิฉัน ดิฉันคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกรรมและการสะสมค่ะ ตามความเป็นจริง เราก็ไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงกระแสของสังคมโลกได้ แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้ เราสามารถที่จะเรียนรู้ และศึกษาตามผู้รู้ได้ ตามเหตุและปัจจัยและตามการสะสมของเรา
สิ่งที่มีจริงๆ และสามารถที่จะพิสูจน์ได้ กับสิ่งที่ไม่มีจริงและไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ถามว่าสิ่งไหนจะน่าสนใจกว่ากัน อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ การสะสมและความคิด ความเข้าใจ ของแต่ละท่านแล้วล่ะค่ะ
ได้อ่านหนังสือเกี่ยวพระพุทธศาสนาของเซน เขาพูดถึงคำสอนว่า คนเราควรมี
วัฒนธรรมทั้ง ๒ แบบ คือ
๑. วัฒนธรรมที่เกิดจากภายใน คือ ความเจริญทางด้านจิตใจ ที่เกิดจากการปฏิบัติยึดมั่นในคำสอน เพียรสร้างความดี ขัดเกลากิเลสตนเองเพื่อเข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
๒. วัฒนธรรมภายนอก คือ ความเจริญทางด้านวัตถุ หรือพิธีกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในทุกยุค ทุกสมัย เช่น พิธีกรรมทางศาสนา การสวดมนต์ ไหว้พระ การสร้างถาวรวัตถุต่างๆ พระพุทธรูป เพื่อเป็นตัวแทนของศาสนาและ เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองซึ่งความสำคัญทั้งสองแบบนี้ต้องควบคู่กันไป แต่คนส่วนใหญ่จะชอบแบบวัฒนธรรมภายนอกที่เห็นเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมของศาสนา ให้ชนรุ่นหลังได้ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ส่วนวัฒนธรรมภายใน ถ้าทุกคนปฏิบัติและเข้าใจก็จะไม่ยึดถือเรื่องทางวัตถุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่คนกลุ่มนี้จะมีน้อย ก็คงไม่มีใครผิดใครถูก แล้วแต่ละบุคคลจะสะสมมามากน้อยไม่เท่ากัน
ปัญญาต่างหากที่จะทำให้พ้นทุกข์ ปัจจัยภายนอกจะทำอะไรได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้อง ก็หลงเข้าใจผิดไปในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจตามระดับปัญญาครับ เรื่อง สิ่งที่เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ คือ ทำให้พ้นทุกข์ แต่มิใช่เพื่อได้ลาภ ยศ เพราะนำมาซึ่งทุกข์
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ที่พึ่งที่แท้จริง [ปุโรหิตชื่ออัคคิทัต]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
"จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง อยู่เถิด"
เหมือนที่พระมหาชนก ที่พระองค์แม้มองไม่เห็นฝั่ง ก็ยังเพียรว่ายในทะเลใช่ไหมครับ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงจัดความเพียร หรือสัมมาวายามะ เป็นหนึ่งในทางสายกลาง หรือมรรคมีองค์ ๘ ไว้ด้วย ใช่ไหมครับ ดังที่มีสุภาษิต กล่าวเอาไว้ว่า บุคคลพึงล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ใช่ไหมครับ แล้วคนเราในชีวิตประจำวัน นอกจากเพียรในกิจการงานแล้ว ยังสามารถที่จะมีความเพียรอะไรอื่นอีกได้บ้างครับที่จะชอบด้วยเหตุและผลตามพระพุทธศาสนา